อรสา แก้วสารถึ
ปี พ.ศ.2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา
แบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบียงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่าทุนทางสังคมในด้านการมีส่วนร่วม ด้านความเป็นท้องถิ่นผู้บริหารสถานศึกษา ด้านทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการบริหารจัดการ และด้านระบบสารสนเทศ ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทุน มนุษย์รองลงมาคือ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางการบริหารจัดการองค์กร ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ ตามลำดับการจัดการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น ในด้านทุนมนุษย์ มีการดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือ มีการร่วมมือของ ผู้ปกครองกลุ่มสถานศึกษา สมาคม ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในการแสวงหาความร่วมมือในการ สนับสนุนงานการศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การจัดการทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการ
ดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือมีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา ด้านทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษา ให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านทุนทางการบริหารจัดการองค์กรมีการดำเนินงานในระดับ มากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ครอบคลุมโครงสร้าง ภารกิจ บุคลากรเทคโนโลยีและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และในด้านทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศมีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สถานศึกษา
มีการพัฒนาการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารได้
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาใน
ท้องถิ่นมีองค์ประกอบของการบริหารจัดการได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์กร การดำเนินการตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้และเงื่อนไขของความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น ใน 5 ด้านคือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความเป็นท้องถิ่น ด้านทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการบริหารจัดการ และด้านระบบสารสนเทศ โดยการนำรูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในท้องถิ่น ไปใช้ในสถานศึกษาต้องมี แผนยุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงเงื่อนไซความสำเร็จ รูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศ
ของสถานศึกษาในท้องถิ่น สู่คุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น 3 ด้าน คือ 1) คุณภาพของสถานศึกษา 2) คุณภาพของนักเรียน และ 3) คุณภาพของครูและบุคลากรสถานศึกษา