เรื่อง รูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จังหวัดสุรินทร์
แนวคิดการพัฒนา
โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบทั่วไป จัดการเรียนการสอนรายวิชาฟุตบอล ภายใต้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายเพียงหนึ่งรายวิชาในภาคการศึกษาใดภาคการศึกษาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกีฬาหรือโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดห้องเรียนพิเศษด้านกีฬาที่มีความเข้มข้นด้านหลักสูตรสำหรับการเตรียมพื้นฐานฟุตบอล อีกทั้งยังไม่มีครูผู้สอนและทีมครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญทางฟุตบอล ขาดการออกแบบกิจกรรม การเรียนหรือปรับให้นักเรียนให้มีเวลาในการฝึกซ้อมเหมือนนักฟุตบอลเพื่อการแข่งขันหรืออาชีพ ขาดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นกิจกรรมเติมแรงบันดาลใจที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรฯ ไปใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้น นำไปสู่การพัฒนาและความสำเร็จของนักฟุตบอลอาชีพให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขาดกิจกรรมแข่งขันฟุตบอลระหว่างโรงเรียน ขาดกิจกรรมการศึกษาหรือฝึกซ้อมฟุตบอลร่วมกับในทีมฟุตบอลอาชีพในประเทศ อีกทั้งผลการแข่งขันฟุตบอลของทีมโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยาที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรและที่สำคัญยังขาดรูปแบบในการพัฒนากีฬาฟุตบอลอย่างเป็นระบบ หากโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยามีรูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลอย่างชัดเจน จะทำให้การพัฒนากีฬาฟุตบอลในโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยามีความเป็นระบบและประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น
กระบวนการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลในเชิงหลักการ
ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 ตามกระบวนการทำ Benchmarking ในเชิงบูรณาการเข้ากับแนวทางปฏิบัติจริงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ มาจัดทำกรอบในการสัมภาษณ์และนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้แนวคำถาม (Interview Guide) จำนวน 10 คน (ผู้บริหารศูนย์ฝึกเยาวชนหินโคนอะคาเดมี่ บุคลากรด้านกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล ชุมชนและผู้ปกครอง)
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 ตามแนวทางการทำ Benchmarking ในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ โดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) โดยจัดสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) จำนวน 15 คน กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคณะกรรมการบริหารโรงเรียน) จำนวน 15 คน กลุ่มที่ 3 (กลุ่มครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ) จำนวน 4 คน สถานที่โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ขั้นตอนที่ 4 รายงานผลรูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช่นวัตกรรม
รูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 เป็นรูปแบบที่มีความเชื่อมโยงและ มีความสัมพันธ์ในการพัฒนากีฬาฟุตบอล 5 ประการ คือ 1) การวางแผน เป็นการร่วมกันในการระบุกลยุทธ์ที่ตั้งใจ การเลือกกระบวนการที่จะเทียบวัด การเลือกองค์ประกอบที่วิเคราะห์แล้วว่าประสบผลสำเร็จและมีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม คือ การระบุโครงร่างที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน 2) การสร้างทีม เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการวางแผน เมื่อวางแผนแล้วสร้างทีมด้วยการเลือกสมาชิกในทีมและการฝึกอบรมทีม 3) การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนในการลงมือปฏิบัติในการรวบรวมข้อมูล แนวการปฏิบัติของโรงเรียนและแนวการปฏิบัติขององค์กรที่เทียบวัด 4) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการเปรียบเทียบการปฏิบัติและค้นหาช่องว่างของโรงเรียนกับองค์กรที่เทียบวัดและมีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม คือ การค้นหาสิ่งที่เทียบวัด 5) การลงมือปฏิบัติแก้ไข เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติแก้ไข ประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการกำหนดเป้าหมาย การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงกระบวนการการลงมือปฏิบัติการจัดเตรียมงบประมาณและมีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม คือ การติดตามการประเมินผล จนได้รูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สพม.33 ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทำให้ทีมกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยามีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ