ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน
ของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน นายอุทิศ สมอบ้าน
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ประเมินความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม โครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 2 ) ประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า โครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน ของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 3 ) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ โครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน ของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 4 ) ประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิต โครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่เป็นเป้าหมายในการประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด ผู้ประเมินใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มศึกษาจำนวน 140 คน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา 17 คน นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีเจาะจงตามตารางเครซี่และมอร์แกน(Purposive Sampling) จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของโครงการทุกขั้นตอน แล้วประเมินผลการดำเนินการและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดตามรูปแบบ CIPP MODEL สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ทั้ง 4 ด้าน โดยการตอบแบบสอบถามของครู และนักเรียน โดยรวมมีผลการปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด ( = 4.33, S = 0.33) โดยแยกเป็นผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
(= 3.49, S = 0.42)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( = 4.33,
S = 0.33)
1.3 ด้านกระบวนการ (Process evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
( = 4.09, S = 0.41)
1.4 ด้านผลผลิต (Product evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( = ( = 4.09, S = 0.41)
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
รายงานการประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ได้สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1.เพื่อประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการตอบแบบสอบถามของครู
ในภาพรวมและมีด้านการประเมิน ดังนี้
1.1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม
1.2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
1.3 การประเมินด้านกระบวนการ
1.4 การประเมินด้านผลผลิต
2. เพื่อประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการตอบแบบสอบถามของ
นักเรียน ในภาพรวมและมีด้านการประเมิน ดังนี้
2.1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม
2.2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
2.3 การประเมินด้านกระบวนการ
2.4 การประเมินด้านผลผลิต
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ประเมินดำเนินการศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง กำหนดให้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงดังนี้
1.นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด อำเภอแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 123 คน
2.ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด อำเภอแม่สอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 17 คน
รูปแบบของการประเมิน
การประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบจำลองของซิปป์(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม โดยแบ่ง การประเมินออกเป็น 5 ด้าน คือ
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) เป็นการประเมินหลักการ วัตถุประสงค์โครงการและเป้าหมายของโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นการประเมินด้านบุคลากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนพักนอน ผู้ปกครอง ด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานและงบประมาณ
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) เป็นการประเมิน กระบวนการดำเนินโครงการตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงานตามโครงการ การนิเทศติดตามผลและนำผลมาปรับปรุงพัฒนา
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product) เป็นการประเมินผลสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ ผลสำเร็จการดำเนินงานตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด คือ แบบประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด โดยได้ประยุกต์ใช้รูปแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) มี 5 ด้าน จำแนก ดังนี้
ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด จำนวน 140 คน ด้านสภาวะแวดล้อม จำนวน 13 ข้อ
ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถาม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด จำนวน 140 คน ด้านปัจจัยนำเข้า จำนวน 20 ข้อ
ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถาม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด จำนวน 140 คน ด้านกระบวนการ จำนวน 15 ข้อ
ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถาม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด จำนวน 140 คน ด้านผลผลิต จำนวน 35 ข้อ
สรุปผลการประเมินโครงการ
ผู้ประเมินได้เสนอผลการประเมินโครงการ ดังนี้
1.ผลการประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านสภาวะแวดล้อม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
(= 3.49, S = 0.42)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33,
S = 0.33)
1.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)การประเมินโครงการเกษตรแบบ
ผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S = 0.41)
1.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
1. การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร และนักรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S = 0.41)
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
จากการสรุปผลการประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมินได้นำประเด็นสำคัญมาอภิปรายผล ดังต่อไปนี้
1. ผลการประเมินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ความสอดคล้องของโครงการ ความจำเป็นของโครงการความเป็นไปได้ของโครงการ เกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด สอดคล้องกับสภาพความต้องการของชุมชนและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก ผู้บริหารสถานศึกษาได้ประชุมชี้แจงให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด อย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อนันต์ รามโคตร(2556 , บทคัดย่อ)ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกสง่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2พบว่ามีการประเมิน ด้านสภาวะแวดล้อม เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโครงการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของ ครูและ บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการดำเนินโครงการต่างๆของโรงเรียนจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินการ ความร่วมมือเพื่อจัดหางบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร มาสนับสนุนให้เพียงพอเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้สะดวก สอดคล้องกับงานวิจัยของ อนันต์ รามโคตร(2556 ,บทคัดย่อ)ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกสง่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 พบว่ามีการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับบุคลากร สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ อาคารสถานศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ มะรี เป็งลีฆะ (2555, น. บทคัดย่อ) ได้ทำการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษา ตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไอยรานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 มีความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าในระดับ มาก
1.3ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของ ครูและ บุคลากรทางการศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการ มีการประชุมวางแผน นิเทศ กำกับติดตามการดำเนิน อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับงานวิจัย อนันต์ รามโคตร(2556 , บทคัดย่อ)ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกสง่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 พบว่ามีการประเมินด้านกระบวนการโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศรายุช เชาว์ชาญ (2555, น. 77) ได้ทำการประเมินเชิงระบบโครงการน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแดงสหมิตร จังหวัดมหาสารคาม ได้ศึกษาเรื่อง โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 2555 ด้านกระบวนการในระดับ มาก
1.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
การประเมินโครงการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่าโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงกับนักเรียน สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารให้นักเรียนพักนอน ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น มีรายได้ระหว่างเรียน รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อนันต์ รามโคตร(2556 , บทคัดย่อ)ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกสง่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 พบว่ามีการประเมินด้านผลผลิตโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชยุต อินทร์พรหม (2561 บทคัดย่อ) ได้ศึกษากระบวนการและแนวทางการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ประยุกต์ ทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสนไปปฏิบัติให้สำเร็จ และเพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างการทำ เกษตรกรรมตามแนวทางนี้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การถอดบทเรียน จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรมตามแนวทางนี้ มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นกสิกรรม ประมงและปศุสัตว์ในพื้นที่ขนาดเล็ก ให้จัดการ ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงและฟื้นฟูระบบนิเวศเกษตร สร้างความมั่นคงทางอาหารใน ครัวเรือน เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย บุคคล การตลาด การสืบทอด ถ่ายทอดความรู้ เครือข่าย และการพึ่งตนเองของเกษตรกร ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในที่ดินทำกินขนาดเล็ก มีกระบวนการพัฒนาเกษตรกร เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ และมีการจัดตั้งสถาบันหรือองค์กรรับผิดชอบ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรวางแผนในการระดมทรัพยากรจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาใช้ในการมีส่วนร่วมและบริหารจัดการโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
1.2 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ท้องถิ่น และชุมชนควรจัดการประชุมสัมมนาแล้วนำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาผลกระทบจากการดำเนินโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน
2.2 ควรมีการศึกษาและประเมินโครงการในด้านอื่น ๆ เพื่อพัฒนาโรงเรียนในด้านอื่นต่อไป
2.3 ให้มีการดำเนินการดำเนินตามโครงการเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืนกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการต่อไป