บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1.เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินการของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยก ระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 4. เพื่อประเมินผลผลิต โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 4.1 จำนวนและปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรด้านการจัดการ 4.2 การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทั้ง 4 ด้านของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.3 คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป 4.4 คุณภาพสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2562-2563 4.5 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 กลุ่มเป้าหมาย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 2.1 นักเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยปีการศึกษา 2562 ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5 จำนวน 28 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 จำนวน 18 คน ปีการศึกษา 2563 ใช้นักเรียนกลุ่มเดิมที่
เลื่อนชั้นไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5,6 และมัธยมศึกษาปีที่ 2,3 ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 46 คน 2.2 ครูศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน 2.3 ผู้ปกครอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 46 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 46 คน 2.4 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้โปรแกรม SPSS version 18 ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .936-.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยที่ศึกษาจากประชากร ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ศึกษาจากประชากร
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยก ระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu= 3.78,sigma=.35) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.50,S.D.=.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu= 4.89,sigma=.25) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74,S.D.=.32) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ปีการศึกษา2562 โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก (mu = 3.70,sigma=.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (mu = 4.80,sigma =.29) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยก ระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็น ของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu = 3.73,sigma=.36) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.60,S.D.=.37) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 3.09,S.D.=.43) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu = 4.85,sigma=.28) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.76, S.D.=.32) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วน ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ =4.51, S.D.=.43) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยก ระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 4.1.1 ผลการระดมทรัพยากรด้านบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยก ระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากันปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 16 รายการ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 รายการ รวม 2 ปีการศึกษา จำนวน 38 รายการ ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้นตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.1.2 ผลการระดมทรัพยากรด้านเงินทุนของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ปีการศึกษา 2562 สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2562 เป็นเงิน 422,908 บาท (สี่แสนสองหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดบาทถ้วน) ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 573,800 บาท (ห้าแสนเจ็ดหมื่นสามพันแปดร้อยบาทถ้วน) รวม 2 ปีการศึกษา เป็นเงิน 996,708 บาท (เก้าแสนเก้าหมื่นหกพันเจ็ดร้อยแปดบาทถ้วน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.1.3 ผลการระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ปีการศึกษา 2562 สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาและของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 15 รายการ เป็นเงิน 737,230 บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นเจ็ดพันสองร้อยสามสิบบาทถ้วน) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 รายการ เป็นเงิน 492,319 บาท (สี่แสนเก้าหมื่นสองพันสามร้อยสิบเก้าบาทถ้วน) รวม 2 ปีการศึกษา 35 รายการ เป็นเงิน 1,229,549 บาท (หนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นเก้าพันห้าร้อยสี่สิบเก้าบาทถ้วน) ส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.1.4 ผลการระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ทั้ง 2 ปีการศึกษาโรงเรียนสามารถบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ บริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่องผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้านของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ปีการศึกษา 2562
โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu = 3.55,sigma=.43) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄= 3.49,S.D.=.36) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄ = 3.09,S.D.= .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของ ครู มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu=4.80,sigma=.34) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.76,S.D.=.31) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.43,S.D.=.42) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาชั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 3.34,S.D.=.33) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (mu= 3.26,sigma=.42) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 3.09,S.D.=.47) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่าความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 4.78,S.D.=.31) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.45,S.D.=.45) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (mu= 4.39,sigma=.97 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ทั้ง 3 มาตรฐาน มีผลการประเมินในแต่ละด้าน ดังนี้ ปีการศึกษา 2562 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ ปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาชั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ปีการศึกษา 2562-2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 3.23, S.D. = .37) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับปานกลาง (mu = 3.18, sigma= .45) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง(x̄ = 3.07, S.D.=.44) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด (mu = 4.84,sigma=.28) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.76,S.D.=.32) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.69,S.D.=.40)ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ด้านสภาพแวดล้อม : หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา ควร
กำหนดเป็นนโยบายในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ/ประกาศเกียรติคุณ/ผู้มีอุปการคุณ/สนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และปฏิบัติได้จริงโดยวิธีการต่างๆ แก่บุคคล/เอกชน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า : ครู และผู้ปกครอง ควรเข้ามามีส่วนร่วมกับฝ่ายบริหารของโรงเรียนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
1.3 ด้านกระบวนการ : โรงเรียนควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการดำเนินการระดมทรัพยากร และควรนำทรัพยากรที่ระดมได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน หรือคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
1.4 ด้านผลผลิต : โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย และจุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางในการระดมทรัพยากรครั้งต่อไป
1.5 สถานศึกษาอื่นควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการไปประยุกต์ใช้ในการระดมทรัพยากรการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละสถานศึกษา
1.6 โรงเรียนควรมีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อตรวจ สอบความคุ้มค่า
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค
2.2 ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
2.3 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการ ศึกษา ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป