การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ สำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทสภาพแวดล้อมก่อนและหลังดำเนินการโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ ระยะที่ 2 ประเมินผลโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ โดยใช้แบบจำลอง CIPP และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ จำนวนประชากรทั้งหมด 2,917 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมินและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการศึกษาบริบทสภาพแวดล้อมก่อนและหลังดำเนินการ โครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
1) ภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน) ลดลง
(1) ปีการศึกษา 2560 นักเรียน จำนวน 2,917 คน อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน) จำนวน 776 คน (X-= 4.16, S.D. 83.26) คิดเป็นร้อยละ 26.60
(2) ปีการศึกษา 2563 นักเรียน จำนวน 3,061 คน อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน) จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 11.49
2) นักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอยู่ในระดับสูงขึ้น
(1) ปีการศึกษา 2560 นักเรียน จำนวน 2,917 คน มีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอยู่ในระดับมาก (X-= 4.16, S.D. = 0.50) คิดเป็นร้อยละ 83.26
(2) ปีการศึกษา 2563 นักเรียน จำนวน 3,061 คน มีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 4.53, S.D. = 0.62) คิดเป็นร้อยละ 90.56
3) การดำเนินงานด้านสุขอนามัยอยู่ในระดับสูงขึ้น
(1) ปีการศึกษา 2560 การดำเนินการด้านสุขอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง (X-= 2.69, SD = 0.21) คิดเป็นร้อยละ 53.80
(2) ปีการศึกษา 2563 การดำเนินการด้านสุขอนามัย อยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 4.77, SD = 0.37) คิดเป็นร้อยละ 95.40
2. ผลการประเมินโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ พบว่า
2.1 ผลการประเมินโครงการ โดยแบบจำลอง CIPP Model
ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และ ด้านผลผลิต (Outputs) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 4.64, SD = 0.29)
2.2 ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดจากโครงการ พบว่า
1) คุณภาพนักเรียน (SAR)
1) ระดับปฐมวัย พบว่า คุณภาพของเด็ก ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 94.25 คะแนน) ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 99.62 คะแนน)
2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คุณภาพของผู้เรียน ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.23 คะแนน) ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 99.05 คะแนน)
2) ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (2559-2563) ณ วันที่ 4 6 มิถุนายน 2562 1) ระดับปฐมวัย พบว่า คุณภาพของเด็ก มีระดับคุณภาพ ระดับดีเยี่ยม
2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานคุณภาพของผู้เรียน พบว่า มีระดับคุณภาพ ระดับดีเยี่ยม
2.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 4.52, SD = 0.38)
3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ จากการเสวนาระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอในการพัฒนาโครงการ Prayamon Healthy Factory อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ดังนี้ 1) เป็นฐานบูรณาการเรียนรู้สุขภาวะดิจิทัลแบบองค์รวม (Integrative Healthy Digital Holistic learning) โดยการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระ การจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับบุคคล (IDP) การให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาสุขอนามัย การประเมินผลพัฒนาการจากสภาพจริงด้วย R-L-B-R Approach และต่อยอดยกระดับการเรียนรู้เป็นบริการสาธารณะ (Public Service) ในรูปศูนย์เรียนรู้ชุมชน (Community Learning Center) และ 2) ยืนยันประสิทธิภาพโครงการ โดยเสนอนำร่องขยายผลโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครตามความสมัครใจ สร้างการรับรู้ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) และประเมินผลโครงการด้วย CIPP Model
คำสำคัญ : Healthy Factory, แบบจำลอง CIPP