จุดประสงค์การวิจัย
1. การหาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2/2 สาขาวิชาช่างกลโรงงาน แผนกช่างกลโรงงาน วิชาคณิตศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2005) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ LT
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ขั้นเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วยการจัดเตรียมเนื้อหาสาระ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 1 แผน เป็นเครื่องมือ ผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาสาระเพื่อให้ผู้เรียนศึกษา คือ
1.1 ความเร็วตัด ความเร็วรอบ ความเร็วขอบ เวลาดำเนินกิจกรรม 4 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของความเร็วตัด ความเร็วรอบ และความเร็วขอบได้
2. คำนวณหาค่าความเร็วตัด ความเร็วรอบในงานกลึง งานเจาะและงานกัดได้
3. คำนวณหาค่าความเร็วขอบ ความเร็วรอบในงานเจียระไนได้
4. คำนวณหาค่าความเร็วตัดในงานไสได้
2. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้
2. บอกให้นักเรียนรู้บทบาทของตนเอง ได้แก่ การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึก การสรุป
3. แนะนำสื่อการเรียนรู้
4. ดำเนินการจัดการเรียนรู้
3. วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย อาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
1. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของค่าสถิติเบื้องต้นต่าง ๆ
2.การตัดเกรดแบบอิงพัฒนาการ การตัดเกรดแบบอิงพัฒนาการ ด้วยการใช้สูตรคำนวณคะแนนพัฒนาการของ ศิริชัย กาญจนวสี
3. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรที่ศึกษาวิจัยตามคุณลักษณะของประชากร เช่น เพศ การส่งงานที่มอบหมาย เป็นต้น โดยอาศัยสถิติทดสอบแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพียงทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิจัย
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์เครื่องมือกล (2102-2005) เรื่อง ความเร็วตัด ความเร็วรอบ ความเร็วขอบ ของนักเรียน ชั้นปวช. 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) คะแนนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/2 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ส่วนหลังเรียนตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ LT มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.22 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
คะแนนพัฒนาการของผู้เรียนที่มากกว่าร้อยละ60 มีจำนวน 9 คน และมีผู้ที่มีคะแนนพัฒนาการต่ำกว่าร้อยละ 60 จำนวน 14 คน
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ / เทคนิคการสอนแบบLT