ชื่องานวิจัย
การพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐ
จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย นางสาวเพ็ญศิริ แสนสุข
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัด สุรินทร์ ผู้วิจัยได้ดําเนินการตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์และเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในด้านการ วางแผนด้านการดําเนินงาน ด้านการตรวจสอบ ผลการดําเนินงาน ด้านการปรับปรุงการดําเนินงานกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการสัมภาษณ์ เป็นประธานกรรมการสถานศึกษา และครู จํานวน 4 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการกําหนดกรอบกิจกรรมการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ เป็น ครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัด สุรินทร์จํานวน 21 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 3.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ เป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ จํานวน 21 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และ 4. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความ พึงพอใจของบุคลากรต่อผลการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ จํานวน 21 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์แบบบันทึก แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการดําเนินการ โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัด สุรินทร์ จากการสัมภาษณ์ และการสังเคราะห์ข้อมูล พบว่า
1.1 ไม่มีผลการประเมินความสําเร็จตามเป้าหมายของการดําเนินงาน
1.2 ไม่มีการจัดทําฐานข้อมูล เครื่องมือสําหรับการประเมินความสําเร็จ ทั้งด้านผู้เรียน ด้าน
ครู และค้านผู้บริหาร
1.3 รายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย กิจกรรมโครงการไม่แสดงถึงการนําผลการประเมิน
มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของงาน
1.4 ไม่มีผลสรุปความสําเร็จตามเป้าหมายทั้งในระดับโครงการและระดับแผนพัฒนา
สอดคล้อง กับผลสรุปการประเมิน ของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (2553 : 32) พบว่า โรงเรียนพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน มีผลการประเมินอิงเกณฑ์ระดับคุณภาพดีแต่การพัฒนาตาม ข้อเสนอแนะไม่เป็นระบบ จึงไม่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมีความตระหนักชัดเจน แต่ ความพยายามในการปฏิบัติไม่เป็นตามเกณฑ์ และไม่บรรลุมาตรฐาน เป้าหมายตามแผน ส่งผลให้ผลการ ประเมินอิงสถานศึกษา มีระดับคุณภาพ ปรับปรุง
2. ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย พบว่า
2.1 ด้านการใช้กิจกรรมการดําเนินงาน การทํากิจกรรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
การศึกษา และการเตรียมการบรรลุตามเป้าหมาย บุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสําคัญ และความจําเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ข้อมูลในการดําเนินการพัฒนาคุณภาพต่อไป เช่น การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมเพื่อการ พัฒนาผลงานเข้าสู่การเลื่อนตําแหน่ง หรือเลื่อนให้ได้รับวิทยฐานะต่าง ๆ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ทํางาน ซึ่งทุกคนตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของการประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น คณะกรรมการที่แต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความมั่นใจมากขึ้น มีการกําหนดระบบการประกัน คุณภาพการศึกษา ตลอดทั้งสร้างสื่อ คู่มือการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2.2 ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การวางแผน
การ ประกันคุณภาพการศึกษา บรรลุเป้าหมาย คือ บุคลากรหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ หัวหน้า ฝ่าย รองผู้อํานวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมกันวางแผนการพัฒนางานประกันคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียน มีการจัดทําข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศให้ครบทุกด้านและเป็นปัจจุบันได้เอกสาร มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ธรรมนูญโรงเรียน และแผนปฏิบัติการของโรงเรียน มาตรฐานการปฏิบัติงานของแต่ละหมวด แต่ละฝ่ายที่ปรับปรุงจากฉบับเดิม ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการดําเนิน โครงการต่างๆ ของโรงเรียนในสภาพปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการดําเนินงานประกันคุณภาพและ การรายงานผลต่อสาธารณชนและต้นสังกัดต่อไป
2.3 ด้านการนําแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้
2.3.1 ผลการดําเนินการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่
ของ ตนเองดี การมีส่วนร่วมจะช่วยให้พัฒนาโรงเรียนได้ดีขึ้น ในครั้งต่อไปโรงเรียนควรประชาสัมพันธ์กับ ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านขอความร่วมมือประกาศ กระจ่ายข่าวแจ้งว่าไม่มีการบริจาคเงิน และควรจัด ประชุมไม่ให้ตรงกับวันหยุด หรือช่วงที่เก็บเกี่ยวทํานา คณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจที่ โรงเรียนได้ตั้งหรือกําหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน อย่างน้อยทุกคนได้รู้และเข้าใจว่านักเรียนเมื่อมา เรียนหนังสือแล้วได้อะไรบ้าง และเสนอแนะว่าต้องการให้โรงเรียนได้จัดทําอะไรบ้าง เช่น การส่งเสริม โครงการศึกษาดูงาน การส่งเสริมใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การสอนภาษาต่างประเทศโดยครูเจ้าของภาษา
2.3.2 การมอบหมายงาน มีการประชุมมอบหมายงาน โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่ม
บุคลากร ทุกคนรับผิดชอบภาระงานตามความรู้ความสามารถ เมื่อบุคลากรทุกคนได้เข้าใจในภาระงานบทบาทหน้าที่ และขั้นตอนการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและกําหนดในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนจากการมี ส่วนร่วมคิดร่วมทําทุกคนทําให้งานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการจัด การศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามแผนที่ได้กําหนดไว้ต้องมีการกําหนดตัว ผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษาได้เปิดโอกาสให้ครู ได้เลือกรับผิดชอบและปฏิบัติงานตามความ สนใจ ความรู้ความสามารถ และรวมกลุ่มงานที่จะมาร่วมกันทํางานเป็นทีมพัฒนางาน
2.4 การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพกรศึกษาของสถานศึกษา
ผลการดําเนินกิจกรรม จากการทบทวนตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พบว่า ครูและนักเรียน
ได้ ทราบปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และได้ให้ข้อตกลงพร้อมกันในการ ดําเนินงานแก้ปัญหา จะไม่หยุดชะงัก เพราะจะทําให้เกิดผลไม่ดีกับนักเรียนโรงเรียน ผู้อํานวยการ สถานศึกษาให้ขวัญและกําลังใจในการทํางานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาและเชื่อมั่นว่า ทุกปัญหา จะต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือของบุคลากรทุกคนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กํากับติดตาม มีการกําหนดแนวทางการปฏิบัติ แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา มี การประชุมชี้แจงทําความเข้าใจให้คณะกรรมการสามารถดําเนินการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษา ตามกําหนดเวลา สามารถดําเนินการเก็บข้อมูลได้ทุกมาตรฐานสรุปรายงานผลการตรวจสอบได้ตาม กําหนดเวลา
2.5 การพัฒนาและปรับปรุง มาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยและ
นวัตกรรมของครูและนักเรียนที่ประชุมตกลงกันว่า ในสภาพของการเปลี่ยนแปลงสังคมและวิทยาการด้าน ต่าง ๆ ครูควรปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องเปลี่ยนแปลงตนเองในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ครูทุกคนควรเข้าร่วมกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การทําวิจัยในชั้นเรียน การสร้าง สื่อและนวัตกรรม
2.6 การเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก ผลการนิเทศการเตรียมรับการประเมิน
จากองค์กรภายนอก มีข้อค้นพบ คือ
2.6.1 จากที่ครูได้รับการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ทําให้ครูให้ความร่วมมือในการ
ดําเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น มีความชัดเจนมากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูลสารสนเทศและ ร่องรอยการปฏิบัติงาน ครูมีผลงานที่สะท้อนผลการนิเทศได้ในระดับดี
2.6.2 จากการดําเนินงานที่ผ่านมาทําให้มีความมั่นใจมีความพร้อมให้สํานักงาน
รับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เข้าประเมินคุณภาพภายนอก
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อผลการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์
การพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรง
ประชารัฐ จังหวัดสุรินทร์ เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้ขั้นตอนระบบการประกันคุณภาพภายใน ทั้ง6 ขั้นตอน5 กลยุทธ์ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ระดับความคิดเห็นของบุคลากรจากการตอบแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐ จังหวัด สุรินทร์ ก่อนการพัฒนา เฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง หลังจากได้พัฒนาตามขั้นตอนและกลยุทธ์ ดังกล่าว ระดับความคิดเห็นหลังการพัฒนา เฉลี่ย 3.91 อยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การพัฒนา ประสิทธิภาพการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านสำโรงประชารัฐจังหวัดสุรินทร์มีค่า เพิ่มมากขึ้น