ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
คณิตศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สมารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง ถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ วิชาคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นสื่อการเรียนการสอนนับว่ามีความสำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถและความต้องการ ซึ่งชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สอนดำเนินการสอนไปตามลำดับขั้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มทำให้นักเรียนได้รู้จักการวางแผนในการแก้ปัญหารู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนชุดกิจกรรม การเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียนและกระทำร่วมกับเพื่อนๆ โดยเริ่มจากที่นักเรียนได้เผชิญปัญหาแล้วตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบโดยการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและสรุปข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผลช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามอัตภาพช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่คงทนผู้เรียนสามารถนำไปฝึกเมื่อไรก็ได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ฝึกความรับผิดชอบของผู้เรียน และผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชุดของสื่อประสม มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่องที่สอนมีการวางแผนการจัดการเรียนอย่างเป็นระบบ ทั้งทางด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม สื่อและการใช้สื่อ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล โดยจัดเอาไว้เป็นชุดๆ บรรจุอยู่ในซองหรือกล่อง เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือ ในการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ผลดีของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน ว่าช่วยให้ครูผู้สอนสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ อย่างมีคุณภาพ สามารถถ่ายทอด เนื้อหาวิชาการได้ดี แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ในกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้อย่างดีเลิศจะเกิดขึ้นจากการได้คิด ได้สัมผัส ได้ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ
การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอบ 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบ
มีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2562) ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยให้ผู้สอนคำนึงถึงความสนใจความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน รูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนควรมี ความหลากหลาย จัดให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและเหมาะสมกับผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติจริง มุ่งให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริงโดยใช้สื่อรูปธรรมที่สามารถนำผู้เรียนไปสู่การค้นพบหรือได้ข้อสรุป
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของ
จำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
ตัวชี้วัด
ค 1.1 ป.4/1 อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับที่มากกว่า 100,000
ค 1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 จากสถานการณ์ต่างๆ
ค 1.1 ป.4/3 บอกอ่านและเขียนเศษส่วนจำนวนคละแสดงปริมาณสิ่งต่างๆ และแสดงสิ่งต่างๆ ตามเศษส่วน จำนวนคละที่กำหนด
ค 1.1 ป.4/4 เปรียบเทียบเรียงลำดับเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง
ค 1.1 ป.4/5 อ่านและเขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่งแสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ และแสดงสิ่งต่างๆ ตามทศนิยมที่กำหนด
ค 1.1 ป.4/6 เปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่งจากสถานการณ์ต่างๆ
ค 1.1 ป.4/7 ประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหารจากสถานการณ์ต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล
ค 1.1 ป.4/8 หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับที่มากกว่า 100,000และ 0
ค 1.1 ป.4/9 หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของจำนวนหลายหลัก 2 จำนวน ที่มีผลคูณไม่เกิน 6 หลักและประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่เกิน 6 หลัก ตัวหารไม่เกิน
2 หลัก
ค 1.1 ป.4/10 หาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับ และ 0
ค 1.1 ป.4/11 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา2ขั้นตอนของจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 และ 0
ค 1.1 ป.4/12 สร้างโจทย์ปัญหา 2 ขั้นตอนของจำนวนนับ และ 0 พร้อมทั้งหาคำตอบ
ค 1.1 ป.4/13 หาผลบวกผลลบของเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของ
อีกตัวหนึ่ง
ค 1.1 ป.4/14 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง
ค 1.1 ป.4/15 หาผลบวก ผลลบของทศนิยมไม่เกิน3 ตำแหน่ง
ค 1.1 ป.4/16 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบ 2 ขั้นตอนของทศนิยมไม่เกิน3 ตำแหน่ง
มาตรฐาน ค.1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้
(มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นพื้นฐาน แต่ไม่วัดผล)
สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและนำไปใช้
ตัวชี้วัด
ค 2.1 ป.4/1 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา
ค 2.1 ป.4/2 วัดและสร้างมุม โดยใช้โพรแทรกเตอร์
ค 2.1 ป.4/3 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูป
เรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้
ตัวชี้วัด
ค 2.2 ป.4/1 จำแนกชนิดของมุม บอกชื่อมุม ส่วนประกอบของมุมและเขียนสัญลักษณ์แสดงมุม
ค 2.2 ป.4/2 สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเมื่อกำหนดความยาวของด้าน
สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ป.4/1 ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิแท่งตารางสองทางในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา
จากประสบการณ์ของผู้วิจัยในการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จากการจัดกิจกรรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพต่ำกว่าเป้าหมายของทางโรงเรียนที่กำหนดไว้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ
ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562
ปีการศึกษา คะแนนเฉลี่ยร้อยละ
2561 63.21
2562 67.95
ที่มา : (รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. โรงเรียนวัดพนมเศษ)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ชุดกิจกรรมน่าจะมีความเหมาะสมกับผู้เรียน จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเป็นการพัฒนาและแก้ปัญหาในด้านการคิด การคิดแก้ปัญหา การเชื่อมโยง การสื่อความ ภาษาและสัญลักษณ์ และการให้เหตุผลของผู้เรียนหมดไป อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ร่วมกับเทคนิค KWDL
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ประโยชน์ของการศึกษา
1. ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ประกอบการสอน
2. เป็นแนวทางสำหรับครูหรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ขอบเขตของการศึกษา
1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต3 ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 18 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ โจทย์ปัญหาการบวก การลบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพนมเศษ พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศึกราช 2562) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562) ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา
การบวก การลบ นำมาจัดทำเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ มีจำนวน 8 ชุด ดังนี้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 โรงเรียนของเรา
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 2 หมู่บ้านแสนสุข
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 3 วัดบ้านเรา
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 4 มีอะไรในตลาด
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 5 สถานีอนามัยใกล้บ้าน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 6 เที่ยวเขื่อนกันเถอะ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 7 ย้อนรอยศาลสมเด็ก
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 8 ชวนชมสวนสัตว์
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตัวแปรตาม ได้แก่
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ
2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
3. เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แบบทดสอบการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ
2.2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
3.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดทฤษฏีการเรียนการสอน
3.2 ศึกษาปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน
3.3 ศึกษาเทคนิคการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
3.4 สร้างแบบประเมินผลก่อนเรียน - หลังเรียน 3.5 ประเมินผล ก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.6 ดำเนินการจัดกิจกรรมประจำวัน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.7 ประเมินผลหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริงในชั้นเรียน โดยใช้แบบประเมินผลก่อนใช้และหลังใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบทดสอบเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ก่อนเรียนและหลังเรียน นำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ ทั้งหมดรวม 18 คน มีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน แล้วจึงดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน แล้วจึงนำผลมาเก็บรวบรวม ข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนที่รวบรวมได้จากเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจำแนกผลการเรียนรู้ ดังนี้
สรุปได้ว่านักเรียนทั้ง 18 คน มีความก้าวหน้าในการใช้ชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการเรียนรู้
ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การฝึก จำนวนนักเรียน ผลรวม
X ค่าเฉลี่ย
X
ร้อยละ
ค่า S.D
ก่อนเรียน 18 คน 223 13.94 46.46 4.33
หลังเรียน 18 คน 317 19.81 66.04 4.15
จากตารางสรุปได้ว่าการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.94 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.81 จะเห็นได้ว่าคะแนนของค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 4.33 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 4.15 แสดงว่าข้อมูลมีค่าคะแนนใกล้เคียงกัน
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพนมเศษ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ดีขึ้น
อภิปรายผล
ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นสื่อที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามผลของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดนี้สร้างขึ้นอย่างถูกวิธี ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่เอกสารหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร และยังได้รับการแนะนำ ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเนื้อหา
3. การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้
4. การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและ
การลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้เรียงลำดับความยากง่ายสอดคล้องตามธรรมชาติการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จึงสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก่งคณิต...พิชิตโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ
อย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น