ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ชนิดและหน้าที่ของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม

การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ชนิดและหน้าที่ของคำ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม

นางสาวหนึ่งฤดี ขุนบุญจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม 2) เพื่อออกแบบ และสร้างนวัตกรรมชนิดและหน้าที่ของคำ 3) เพื่อทดลองใช้นวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น” และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงนวัตกรรมชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากจำนวนประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร(Thai Language for Communication) เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ จำนวน 1 แผน ( 5 ชั่วโมง ) (2) นวัตกรรม ชนิดของคำจำให้แม่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ จำนวน 15 ข้อ

คำสำคัญ: นวัตกรรมชนิดและหน้าที่ของคำ / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1. บทนำ

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอัน ล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551: 37-39)

ภาษาไทยจึงเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน ดังนั้นการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะอย่างถูกต้อง เหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้และประสบการณ์ ทั้งการพูด การอ่าน การเขียน การฟัง และการดูสื่อต่างๆ ความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้คำเรียบเรียงความคิด ความรู้ และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ตรงตามความหมาย ถูกต้องตามกาลเทศะ บุคคล และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สังคมปัจจุบันเป็นยุคแห่งข่าวสาร ดังนั้นทุกคนจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษาให้ถูกต้องนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในระเบียบหลักเกณฑ์ของภาษาโดยการเรียนรู้ผ่านระบบการศึกษา การจัดการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาเพื่อ สร้างเสริมศักยภาพคนของประเทศในทุกๆด้านให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กล่าวถึง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ซึ่งกำหนดไว้เป็นกรอบและทิศทางพัฒนาระบบการศึกษาที่สำคัญทั้งด้านหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนไว้ว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการใน การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และ พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งประโยชน์และสร้าง สิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

จากผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 คะแนนร้อยละด้านภาษาไทยในบางตัวชี้วัดของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองท่อม ปีการศึกษา 2562 ได้คุณภาพในระดับค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะตัวชี้วัดในสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/2 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค มีคะแนนร้อยละ 29.31 อยู่ในระดับคุณภาพปรับปรุง จากรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในในสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำยังมีข้อบกพร่อง เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก โดยนักเรียนส่วนใหญ่เรียนรู้โดยการจำ ไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ามีลักษณะเป็น อย่างไร ครูขาดสื่อการเรียนการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ จึงเห็นสมควรที่จะหาวิธีดำเนินการแกไขคือ การพัฒนาวิธีการสอนให้ดีและมีประสิทธิภาพขึ้น

จากสภาพปัญหาที่พบคือการจัดการเรียนการสอนเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำ แบบฝึกทักษะชนิดและหน้าที่ของคำ เป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งตามสาระการเรียนรู้แกนกลางผู้เรียนต้องเรียนรู้ชนิดของคำทั้งหมด 4 ชนิดคือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำนวัตกรรม ชนิดของคำ จำให้แม่น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาให้เข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และหากผู้เรียนมีข้อบกพร่องก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที ตลอดจนสามารถทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยการทดสอบหลังเรียนหลังจากการเรียนในบทเรียนนั้นได้ จึงเป็นเครื่องมือที่ครูผู้สอนใช้จัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม

2. เพื่อออกแบบ และสร้างนวัตกรรมชนิดและหน้าที่ของคำ

3. เพื่อทดลองใช้นวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น”

4. เพื่อประเมินผลและปรับปรุงนวัตกรรมชนิดและหน้าที่ของคำ

3. สมมติฐานการวิจัย

1. นักเรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น” มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

4. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

รัตนาวลี คำชมพู (2549) ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรัลยา ชาวนา และมนตรี อนันตรักษ์ (2557) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.16 และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับมาก

นางศิขริน เดชเจริญ (2559) รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองมวง ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนละหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองมวง ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จากการทดสอบค่า (t-test) เท่ากับ 12.72 แสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด

5. วิธีดำเนินการวิจัย

5.1 กลุ่มเป้าหมาย / ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองท่อม จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากจำนวนประชากรทั้งหมด

5.2 แบบแผนการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest -posttest design)

5.3 เครื่องมือในการวิจัย

(1) แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ จำนวน 1 แผน ( 5 ชั่วโมง )

(2) นวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ชุด

(3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ จำนวน 15 ข้อ

5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน การวิจัยดังนี้

(1) ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการเรียนกับนักเรียนกลุ่มทดลอง

(2) ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) โดยใช้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัย ได้สร้างขึ้น จำนวน 15 ข้อ ใช้เวลา 45 นาที

(3) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

(4) ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการ ทดลอง

5.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

(1) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะชนิดและหน้าที่ของคำตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตรการหาค่า E1 /E2

แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication)

จำนวน 5 ชั่วโมง

เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้ ท 4.1 เขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเปนสมบัติของชาติ

ตัวชี้วัด ท 4.1 ป.3/2 ระบุชนิดและหนาที่ของคําในประโยค

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายชนิดของคำในแต่ละชนิดได้ (K)

2. ระบุชนิดและหนาที่ของคําในประโยคได้ (P)

3. มุ่งมั่นตั้งใจและให้ความร่วมมือในการเรียน (A)

เนื้อหา

ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยตามหลักสูตรสาระการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในสาระการเรียนรู้แกนกลางได้กำหนดให้ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต้องเรียนรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำจำนวน ๔ ชนิดได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา โดยคำแต่ละคำมีความหมาย และความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค การสังเกตตำแหน่งของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมาย และหน้าที่ของคำเหล่านั้นด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

ภาระงาน และ/หรือ ชิ้นงาน

1. ใบงานเรื่อง คำนาม

2. ใบงานเรื่อง คำสรรพนาม

3. ใบงานเรื่อง คำกริยา

4. ใบงานเรื่อง คำวิเศษณ์

การประเมินการเรียนรู้

วิธีการประเมิน เครื่องมือวัดและประเมินผล เกณฑ์การวัดและประเมินผล

๑. อธิบายความหมายชนิดของคำได้ (K) -คำถามจากครู -ตอบคำถามได้ถูกต้องทั้งหมด

๒. จำแนกคำชนิดต่าง ๆ และนำไปใช้ในประโยคได้ถูกต้อง (P) ใบงานเรื่อง คำนาม

ใบงานเรื่อง คำสรรพนาม

ใบงานเรื่อง คำกริยา

ใบงานเรื่อง คำวิเศษณ์

-ระดับคะแนนร้อยละ ๖๐ขึ้นไปผ่านเกณฑ์

๓. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล (A) -แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล -ระดับคุณภาพดีผ่านเกณฑ์

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1

นำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

1. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆตัวนักเรียนว่าเห็นอะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เป็นสิ่งมีชีวิต และไม่ มีชีวิต โดยให้นักเรียนตอบคนละ 1 ตัวอย่าง (ครูเขียนคำศัพท์บนกระดาน)

2. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่าคำที่นักเรียนยกตัวอย่างทั้งหมดเป็นที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่างๆ เรียกว่า “คำนาม”

กระบวนการเรียนรู้

1. ครูเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน โดยแจ้งจุดประสงค์ของการเรียนให้นักเรียนทราบ

2. ครูนำนวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่นมาใช้” โดยขั้นตอนแรกนำบัตรคำของคำนาม มาติดบนกระดานแม่เหล็กเพื่อให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างก่อน และให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ด้วย ตัวเองว่า ลักษณะคำนามเป็นอย่างไร คำนามแต่และหมวดหมู่มีลักษณะเป็นอย่างไร

3. นักเรียนแต่ละคนออกมาหน้าชั้นเรียนเพื่อเลือกบัตรคำนามที่วางอยู่มาติดบนกระดาน แม่เหล็กให้ตรงตามหมวดหมู่ โดยครูช่วยให้คำแนะนำ และตรวจสอบว่านักเรียนติดบัตรคำได้ ถูกต้อง หรือไม่

4. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจหลังจากการทำกิจกรรมดังกล่าวเสร็จว่า “คำในภาษาไทย มีทั้งหมด ๗ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำสันธาน คำบุพบท และคำ อุทาน (เขียนในกระดานให้นักเรียนอ่าน) ซึ่งในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำเป็นต้องรู้ถึงชนิด และหน้าที่ของคำทั้งหมด ๔ ชนิดคือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ จะทำให้ สามารถนำคำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง”

5. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “คำที่นักเรียนนำมาติดบนกระดานแม่เหล็กทุกคนคือคำนาม ที่ ใช้เรียกชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ พืชและสถานที่”

6. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “คำนาม” (เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น)

7. นักเรียนทำใบงานเรื่องคำนาม แล้วนำส่งท้ายคาบเรียน (หากมีเวลาเหลือให้ร่วมกัน เฉลยท้ายคาบเรียน หากเวลาไม่พอให้เฉลยร่วมกันก่อนเรียนคาบหน้า)

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่อง คำนาม

2. คุณครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าคาบเรียนต่อไปจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง คำสรรพนาม

ชั่วโมงที่ 2

นำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

1. ครูสนทนากับนักเรียน โดยเจาะจงเล่า หรือเรียกชื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งในห้อง ซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เช่น สวัสดีคมกฤษ วันนี้คมกฤษมาโรงเรียนกับใคร ตอนกลางวันคมกฤษกินข้าว อะไร วันนี้คมกฤษมีการบ้านไหม คมกฤษทำการบ้านเสร็จหรือยัง วันนี้ครูอยากชื่นชมคมกฤษ ครู ว่าคมกฤษเป็นเด็กดี น่ารัก คมกฤษมีน้ำใจ คมกฤษเรียนเก่ง และคมกฤษก็มีความประพฤติ เรียบร้อย

2. ครูถามนักเรียนว่าเมื่อฟังแล้วรู้สึกอย่างไร (มีคำว่า “คมกฤษ” ซ้ำเยอะ) มีคำซ้ำ ตรงไหน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร (ใช้คำว่า “หนู เขา หรือ เธอ” แทนคำว่า “คมกฤษ” )

กระบวนการเรียนรู้

1. ครูเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน โดยแจ้งจุดประสงค์ของการเรียนให้นักเรียนทราบ

2. ครูนำนวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่นมาใช้” โดยขั้นตอนแรกนำบัตรคำของคำนาม ติดบนกระดานแม่เหล็กจากนั้นจึงพูดเพื่อให้นักเรียนช่วยกันคิด อย่างเช่น ถ้าบัตรคำนามที่ติดคือ คำว่า “คุณครู” นักเรียนจะเอาคำสรรพนามคำใดมาใช้เรียกแทน

3. ครูติดคำนามบนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนออกมาเลือกคำสรรพนามที่มีอยู่ มาติดเพื่อใช้เรียกแทนคำนามที่ติดอยู่ให้ถูกต้อง โดยครูช่วยให้คำแนะนำ และตรวจสอบว่า นักเรียนติดบัตรคำได้ถูกต้องหรือไม่

4. นักเรียนร่วมกันแต่งประโยคจากคำสรรพนามที่ติดบนกระดานแม่เหล็กจำนวน ๕ ประโยค (ครูเขียนประโยค ที่ได้บนกระดาน)

5. ครูบอกกับนักเรียนว่า “คำสรรพนามนั้นมีอยู่ หลายประเภท แต่ในระดับ ป.๓ จะ เรียนแค่ ประเภทเดียว” เรียกว่า “บุรุษสรรพนาม”

6. ครูอธิบายคำสรรพนามจากประโยคที่นักเรียนร่วมกันแต่ง ว่าในแต่ละประโยคมีบุรุษ สรรพนามชนิดใดบ้าง (ผู้พูด” “ผู้ฟัง” และ “ผู้ถูกกล่าวถึง)

7. ครูยกตัวอย่างประโยคทีละประโยคให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน จากนั้นสุ่มนักเรียน ออกมาวงกลมคำสรรพนามในประโยคนั้นๆ และตอบว่าเป็นคำสรรพนามบุรุษที่เท่าไร

ตัวอย่างประโยค

สรรพนามบุรุษที่ 1

- เมื่อวานฉันมาโรงเรียนสาย

- สวัสดีครับ วันนี้ข้าพเจ้าจะมาสอบพูด

- สวัสดีครับ กระผมชื่อ ณัฐวุฒิ

- ดิฉันขอกล่าวขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน

- ตอนเที่ยงพวกเราต้องเขียนเรียงความวันแม่

- หนูขออนุญาตกลับก่อนนะคะ

- ด้วยบารมีพระปกเกล้าฯ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ารอดอันตรายทุกอย่าง

สรรพนามบุรุษที่ 2

- ท่านประธานคะ ไม่ทราบว่าท่านจะรับอะไรเพิ่มอีกไหมคะ

- ภูมิภัทร ถ้าคุณแกล้งเพื่อนอีก ครูจะให้ไปอยู่ ป.๒ ละนะ

- ฝนทิพย์ เธอรีบเดินไปไหนเหรอ

สรรพนามบุรุษที่ 3

- วันนี้จิรายุดูเงียบๆ ไม่ค่อยพูด แต่ปกติเขาก็เป็นแบบนี้แหละ

- สวัสดีเดโชชัย คุณพ่อคุณแม่สบายดีหรือเปล่า เดโชชัยจึงตอบว่า “ท่าน สบายดี ค่ะ”

- ยายของฉัน แกเป็นคนมีน้ำใจ ชอบทำอาหารไปแบ่งปันเพื่อนบ้าน

- แมวของฉันชื่อดำ มันชอบกินข้าวคลุกปลาทู

- ชาวไทยทุกคนร่วมกันถวายพระพรแด่ในหลวง ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

8. นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า

-คำสรรพนามบุรุษที่ ๑ ได้แก่คำว่า ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ดิฉัน เรา หนู

-คำสรรพนามบุรุษที่ ๒ ได้แก่คำว่า ท่าน คุณ เธอ

-คำสรรพนามบุรุษที่ ๓ ได้แก่คำว่า เขา แก มัน ท่าน พระองค์

9. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “คำสรรพนาม” (เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น)

10. นักเรียนทำใบงานเรื่องคำสรรพนาม แล้วนำส่งท้ายคาบเรียน (หากมีเวลาเหลือให้ร่วมกัน เฉลยท้ายคาบเรียน หากเวลาไม่พอให้เฉลยร่วมกันก่อนเรียนคาบหน้า)

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่อง คำสรรพนาม

2. คุณครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าคาบเรียนต่อไปจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง คำกริยา

ชั่วโมงที่ 3

นำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

1. ครูให้นักเรียนแสดงท่าทาง กริยา พฤติกรรมจากคำต่อไปนี้

กิน เดิน กระโดด วิ่ง ชี้ ร้องไห้ หัวเราะ โกรธ ตี ดึง ด่า ถือ เต้น

2. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “คำที่นักเรียนขีดเส้นใต้ หรือคำที่ครูให้นักเรียนแสดงท่าทางทั้งหมด ล้วนเป็นคำกริยา”

กระบวนการเรียนรู้

1. ครูเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน โดยแจ้งจุดประสงค์ของการเรียนให้นักเรียนทราบ

2. ครูสอบถามนักเรียนว่าระหว่างคำว่า “กริยา และ กิริยา” ควรใช้คำใดให้ถูกต้อง จากนั้นจึงเฉลยคำที่ถูกต้องให้นักเรียนทราบ และอธิบายเพิ่มเติมว่าควรนำมาใช้ให้ถูกต้องอย่างไร (บอกความหมายของคำทั้ง ๒ คำ)

3. ครูนำนวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น” มาใช้โดยให้นักเรียนสังเกตประโยคบนกระดาน ซึ่งเป็นประโยค ได้แก่ประโยคดังต่อไปนี้

-กระต่ายกระโดด

-นักเรียนกิน

-น้องร้องไห้

-คุณครูร้องเพลง

4. ครูให้นักเรียนขีดเส้นใต้คำกริยาในประโยค

5. ครูสอบถามนักเรียนว่ามีประโยคใดบ้างที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ

6. ครูอธิบายเรื่องชนิดของคำกริยาว่า คำกริยาที่นักเรียนระดับชั้นป.๓ ต้องรู้คือ สกรรมกริยา และอกรรมกริยา จากประโยคหากนักเรียนสามารถอ่านได้เข้าใจไม่ต้องมีกรรมมา ต่อท้ายแสดงว่า คำกริยาข้างต้นเป็นอกรรมกริยา แต่หากประโยคที่นักเรียนอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือมีใจความไม่สมบูรณ์ ต้องนำกรรมมาต่อท้าย คำกริยาดังกล่าวเรียกว่า สกรรมกริยา (ครู ยกตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมและให้ นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น)

7. ครูจึงใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนจากคำถามดังนี้ -คำกริยาหมายถึง/มีลักษณะเป็นอย่างไร

-คำกริยามีกี่ชนิด อะไรบ้าง

-จงยกตัวอย่างประโยคจากคำกริยาแต่ละชนิด (ให้นักเรียนตอบตามความสมัคร ใจ หากไม่มีครูสุ่มเรียกนักเรียนให้ตอบได้) โดยครูควรช่วย

8. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “คำกริยา” (เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น)

9. นักเรียนทำใบงานเรื่องคำกริยา แล้วนำส่งท้ายคาบเรียน (หากมีเวลาเหลือให้ร่วมกัน เฉลยท้ายคาบเรียน หากเวลาไม่พอให้เฉลยร่วมกันก่อนเรียนคาบหน้า)

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่อง คำกริยา

2. คุณครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าคาบเรียนต่อไปจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง คำวิเศษณ์

ชั่วโมงที่ 4

นำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

1. ครูยกตัวอย่างคำต่อไปนี้

ต้นไม้ ต้นไม้ใหญ่

คน คนอ้วน

เสื้อ เสื้อแดง

2. ครูถามนักเรียนว่าคำใดอ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนกว่ากัน

กระบวนการเรียนรู้

1. ครูเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน โดยแจ้งจุดประสงค์ของการเรียนให้นักเรียนทราบ

2. ครูนำนวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่น” มาใช้โดยให้นักเรียนสังเกตคำบน กระดาน แม่เหล็ก เช่น

-กระต่ายขาว

-ดอกไม้หอม

-แมวอ้วน

-สุนัขดำ

3. ครูให้นักเรียนออกมาขีดเส้นใต้คำที่คิดว่าทำให้คำดังกล่าวเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

4. ครูเฉลยให้นักเรียนฟังว่าคำที่ขีดเส้นใต้คือ คำวิเศษณ์ มีหน้าที่ขยายคำนาน สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ด้วยกันเอง เพื่อบอก คุณภาพ ขนาดความรู้สึก หรือปริมาณ เป็นต้น

5. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “คำวิเศษณ์” (เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น)

6. นักเรียนทำใบงานเรื่องคำวิเศษณ์ แล้วนำส่งท้ายคาบเรียน (หากมีเวลาเหลือให้ ร่วมกัน เฉลยท้ายคาบเรียน หากเวลาไม่พอให้เฉลยร่วมกันก่อนเรียนคาบหน้า)

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่อง คำวิเศษณ์

ชั่วโมงที่ 5

นำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนความรู้เรื่อง คำทั้ง ๔ ชนิดที่เคยเรียนผ่านมาได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์

กระบวนการเรียนรู้

1.นักเรียนทำกิจกรรม “ขวดแก้วชนิดของคำ” โดยจำแนกชนิดของคำที่กำหนดให้ลงในขวด แก้วให้ถูกต้อง

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยใบงาน

2. นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่อง ชนิดของคำ

สื่อ และ/หรือ แหล่งเรียนรู้

1. นวัตกรรม “ชนิดของคำ จำให้แม่นมาใช้”

2. ใบความรู้เรื่อง คำนาม

3. ใบความรู้เรื่อง คำสรรพนาม

4. ใบความรู้เรื่อง คำกริยา

5. ใบความรู้เรื่อง คำวิเศษณ์

แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล

ที่

พฤติกรรม

ชื่อ-สกุล ความสนใจ การแสดง

ความคิดเห็น การตอบ

คำถาม การยอมรับ

ฟังคนอื่น ทำงาน

ตามที่ได้รับมอบหมาย หมายเหตุ

๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑

๑ ด.ช.ณัฐวัฎ สังขโชติ

๒ ด.ช.ปิยะณัฐ สองสี

๓ ด.ช.เดโชชัย สามารถ

๔ ด.ช.ภาณุวัฒน์ ดำเกลี้ยง

๕ ด.ช.ชัยวัฒน์ จันทร์พุฒ

๖ ด.ช.ธรรมรัตน์ เกสรินทร์

๗ ด.ช.รัชชานนท์ รัตนบุรี

๘ ด.ช.ณัฐวุฒิ เพชรล้วน

๙ ด.ช.จิรายุ ทองทิพย์

๑๐ ด.ช.พรชัย เพชรสีเงิน

๑๑ ด.ช.คมกฤษ มาลัย

๑๒ ด.ช.ภูมิภัทร ณ ฤทธิ์

๑๓ ด.ช.พิพัฒนชัย เกษแก้ว

๑๔ ด.ช.กันต์ธีภพ ศรีสัจจัง

๑๕ ด.ญ.กวินทิพย์ ศรีสว่าง

๑๖ ด.ญ.ฝนทิพย์ สมมารถ

๑๗ ด.ญ.ณัฐลลิน หนูชุม

๑๘ ด.ญ.จุฑารัตน์ เดชารัตน์

๑๙ ด.ญ.ณัฐธิดา จันทร์ทัศน์

๒๐ ด.ญ.ธัญสินี แก้วสนั่น

๒๑ ด.ญ. ณัฐวดี มีบัว

๒๒ ด.ช.ทินภัทร เพชรเรือนทอง

เกณฑ์การวัดผล ให้คะแนนระดับคุณภาพของแต่ละพฤติกรรมดังนี้

ดีมาก = ๔ สนใจฟัง ไม่หลับ ไม่พูดคุยในชั้น มีคำถามที่ดี ตอบคำถามถูกต้อง ทำงานส่งครบตรงเวลา

ดี = ๓ การแสดงออกอยู่ในเกณฑ์ประมาณ ๗๐%

ปานกลาง = ๒ การแสดงออกอยู่ในเกณฑ์ประมาณ ๕๐%

ปรับปรุง = ๑ เข้าชั้นเรียน แต่การแสดงออกน้อยมาก ส่งงานไม่ครบ ไม่ตรงเวลา

เกณฑ์การประเมิน

๑๔ – ๒๐ คะแนน ระดับดี

๗ – ๑๓ คะแนน ระดับพอใช้

๐ – ๖ คะแนน ระดับปรับปรุง

ลงชื่อ……………………...……........…….ผู้สังเกต

(นางสาวหนึ่งฤดี ขุนบุญจันทร์)

………..…/…………..../………....

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ชื่อ............................................................ชั้น.....................เลขที่.................

คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบ

ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

๑. ข้อใดเป็นความหมายของคำนาม

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำและชื่อ

๒. คำต่อไปนี้ ข้อใดคือคำนาม

ก. คุณครู ข. กระผม

ค. คุณท่าน ง. ข้าพเจ้า

๓. คำว่า “ขัน” ในข้อใดเป็นคำนาม

ก. นกเขาขันไพเราะ

ข. คุณป้ากำลังเช็ดขันน้ำ

ค. พ่อขันน็อตรถจักรยาน

ง. เขาทำตัวน่าขันเสียจริง

พิจารณาประโยคแล้วตอบคำถามข้อ ๔

๔. คำว่า “ขัน” ข้อใดเป็นคำชนิดเดียวกับคำที่ขีดเส้นใต้

ก. นกเขาขันตอนเช้าตรู่

ข. เด็ก ๆ หัวเราะกันอย่างขบขัน

ค. งานเลี้ยงคืนนี้มีขันโตกบนโต๊ะ

ง. พ่อห้ามเลือดโดยวิธีขันชะเนาะ

๙. ข้อใดคือความหมายของคำกริยา

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำแสดงอาการ พฤติกรรม

๑๐. “เรานั่งดูรุ้งกินน้ำกัน” จากประโยคข้อใดเป็นคำกริยา

ก. เรา ข. นั่งดู

ค. รุ้งกินน้ำ ง. กัน

๑๑. ข้อใดเป็น อกรรมกริยา

ก. วิ่ง ข. กิน

ค. ซื้อ ง. ถือ

๑๒. ข้อใดมีคำ กริยา

ก. มะม่วงเขียวเสวย ข. เสื้อสีฟ้า

ค. เขาเย็บผ้า ง. ตุ๊กตาดินเผา

๕. ข้อใดคือความหมายของคำสรรพนาม

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำและชื่อ

๖. คำว่า “เขา” ข้อใดเป็นคำสรรพนาม

ก. ลุงแดงทำนาที่หลังเขา

ข. เขาลูกนี้มันสูงมาก

ค. อาแก้วชอบกีฬาปีนเขา

ง. เขาป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

๗. ข้อใดมีคำสรรพนามบุรุษที่ ๒

ก. เขาจะมาเมื่อไรจ๊ะ

ข. ท่านไม่ไปหาพ่อหรือคะ

ค. เธอจะกลับมาแล้วหรือครับ

ง. อาตมาจะแสดงธรรมที่นี่ พรุ่งนี้

๘. คำสรรพนาม “ท่าน” ในข้อใดแตกต่าง

จากข้ออื่น

ก. ผมเรียนท่านไปแล้วว่าคุณจะมาวันนี้

ข. ท่านเดินทางไปต่างประเทศเมื่อวานนี้แล้ว

ค. ดิฉันเห็นท่านเดินไปที่ห้องประชุมเมื่อสักครู่

ง. ขอเชิญท่านถ่ายรูป เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพด้วยครับ

๑๓. ข้อใดคือความหมายของคำวิเศษณ์

ก. คำที่ใช้ขยาย ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำแสดงอาการ พฤติกรรม

๑๔. ข้อใดมีคำวิเศษณ์อยู่ในประโยค

ก. ฉันกินข้าว

ข. พี่ซื้อโทรศัพท์

ค. น้องดื่มน้ำ

ง. พ่อนั่งใต้ต้นไม้ใหญ่

๑๕. “เธอเลี้ยงหมาชื่อเจ้าเตี้ย” คำว่า หมา เป็นคำอะไร

ก. คำนาม ข. คำสรรพนาม

ค. คำกริยา ง. คำวิเศษณ์

คำชี้แจง : ให้นักเรียนแยกคำตามตามกลุ่มคำที่กำหนดให้

คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านและสังเกตคำสรรพนามในประโยค แล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง

๑.

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

๒.

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

๓.

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

๔.

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

๕.

คำสรรพนาม__________________ใช้แทน______________(สรรพนามบุรุษที่____)

คำชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาประโยคที่กำหนดให้แล้วขีดเส้นใต้คำกริยา และบอกชนิดของ คำกริยาในประโยคนั้น

๑. พี่กินข้าว ชนิดของคำกริยา__________________________

๒. ชาวนาเกี่ยวข้าว ชนิดของคำกริยา__________________________

๓. ผมซื้อโทรศัพท์ ชนิดของคำกริยา__________________________

๔. เขากินน้ำมะเขือเทศ ชนิดของคำกริยา__________________________

๕. เขาเดินออกจากห้อง ชนิดของคำกริยา__________________________

๖. คุณตาหัวเราะ ชนิดของคำกริยา__________________________

๗. พ่อร้องเพลง ชนิดของคำกริยา__________________________

๘. แม่เดิน ชนิดของคำกริยา__________________________

๙. แมวกระโดด ชนิดของคำกริยา__________________________

๑๐. ตำรวจยืนอยู่หน้าสถานีตำรวจ ชนิดของคำกริยา_____________________

๑๑. คุณยายวิ่ง ชนิดของคำกริยา__________________________

๑๓. ฉันชอบขนมหวาน ชนิดของคำกริยา__________________________

๑๔. เธอมองท้องฟ้า ชนิดของคำกริยา__________________________

๑๕. เขาหัวเราะ ชนิดของคำกริยา__________________________

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำวิเศษณ์ที่เหมาะสมเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

เร็ว เย็น อ้วน เพราะ ดำ

สวย เรียบร้อย ร้อน ใกล้ ๆ หลาย

เมื่อวานตอน (๑)................ฉันปั่นจักรยานไปซื้อของที่ตลาดให้แม่ ทางไปตลาดต้องผ่านวัด ฉันรีบปั่นจักรยานด้วยความ (๒)....................เพราะกลัวจะมืดก่อน พอไปถึงตลาด ก็รีบตรงไปที่แม่ค้าประจำ ซึ่งเป็นคุณป้าที่พูด (๓)................และขายของไม่แพง ฉันเลือกซื้อไก่ที่ตัว (๔)............................และเนื้อไม่ช้ำแม่ค้า (๕)............................คนเริ่มเก็บของ ฉันรีบเดินไปซื้อผักที่ร้าน( ๖).............. กันคนขายเป็นคน (๗).............................มากและยังมีมารยาท(๘)...............................อีกด้วย พอซื้อของได้ครบแล้ว ฉันเดินมาที่จักรยาน เสียงฟ้าร้องดังมา แต่ไกล ฉันเงยหน้าดูท้องฟ้าเห็นเมฆสี (๙)......................เต็มท้องฟ้า ฉันรีบปั่นจักรยานด้วยความเร็วจนรู้สึก (๑๐).....................ไปหมด พอผ่านวัดฉันก็ยิ่งเร่งฝีเท้าขึ้นไปอีก กลับถึงบ้านฝนก็เทลงมาพอดี เห็นแม่ยืนรอฉันอยู่หน้าบ้าน

แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

คำชี้แจง ฝึกอ่านคำแล้วใช้กรรไกรตัดคำไปติดกับขวดโหลชนิดของคำให้ถูกต้อง

ใหญ่ นก เล็ก พระองค์ ผม ยางลบ

สุนัข แมว กระโดด พัดลม ห้องเรียน นายก

รถยนต์ ฉัน ดินสอ โดเรม่อน ดิฉัน นักเรียน

กวาง ต้นไม้ พี่ เดิน ทหาร ผักบุ้ง

กว้าง กระรอก โรงอาหาร คลาน เจนนี่ สูง

ปลาดุก เห่า กระต่าย พ่อ วิ่ง เสือ

อ้วน ลิลลี่ อาตมา เหม็น เลื้อย กิน

มะม่วง ตี โรงอาหาร สิงโต แม่ กางเกง

ผอม ท่าน หัวเราะ บิน ข้าพเจ้า ช้าง

เร็ว คุณ ตำรวจ ดำ ขุด เตี้ย

เรา กอด หวาน พวกเรา ขาว ปลูก

พวกมัน เขียน เธอ เขา กัด มัน

ข้าว กู กิน มึง โยม ยาว

 

 

 

 

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ชื่อ............................................................ชั้น.....................เลขที่.................

คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบ

ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

๑. ข้อใดเป็นความหมายของคำนาม

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำและชื่อ

๒. คำต่อไปนี้ ข้อใดคือคำนาม

ก. คุณครู ข. กระผม

ค. คุณท่าน ง. ข้าพเจ้า

๓. คำว่า “ขัน” ในข้อใดเป็นคำนาม

ก. นกเขาขันไพเราะ

ข. คุณป้ากำลังเช็ดขันน้ำ

ค. พ่อขันน็อตรถจักรยาน

ง. เขาทำตัวน่าขันเสียจริง

พิจารณาประโยคแล้วตอบคำถามข้อ ๔

๔. คำว่า “ขัน” ข้อใดเป็นคำชนิดเดียวกับคำที่ขีดเส้นใต้

ก. นกเขาขันตอนเช้าตรู่

ข. เด็ก ๆ หัวเราะกันอย่างขบขัน

ค. งานเลี้ยงคืนนี้มีขันโตกบนโต๊ะ

ง. พ่อห้ามเลือดโดยวิธีขันชะเนาะ

๙. ข้อใดคือความหมายของคำกริยา

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำแสดงอาการ พฤติกรรม

๑๐. “เรานั่งดูรุ้งกินน้ำกัน” จากประโยคข้อใดเป็นคำกริยา

ก. เรา ข. นั่งดู

ค. รุ้งกินน้ำ ง. กัน

๑๑. ข้อใดเป็น อกรรมกริยา

ก. วิ่ง ข. กิน

ค. ซื้อ ง. ถือ

๑๒. ข้อใดมีคำ กริยา

ก. มะม่วงเขียวเสวย ข. เสื้อสีฟ้า

ค. เขาเย็บผ้า ง. ตุ๊กตาดินเผา

๕. ข้อใดคือความหมายของคำสรรพนาม

ก. คำที่ใช้บอกชื่อ ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำและชื่อ

๖. คำว่า “เขา” ข้อใดเป็นคำสรรพนาม

ก. ลุงแดงทำนาที่หลังเขา

ข. เขาลูกนี้มันสูงมาก

ค. อาแก้วชอบกีฬาปีนเขา

ง. เขาป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

๗. ข้อใดมีคำสรรพนามบุรุษที่ ๒

ก. เขาจะมาเมื่อไรจ๊ะ

ข. ท่านไม่ไปหาพ่อหรือคะ

ค. เธอจะกลับมาแล้วหรือครับ

ง. อาตมาจะแสดงธรรมที่นี่ พรุ่งนี้

๘. คำสรรพนาม “ท่าน” ในข้อใดแตกต่าง

จากข้ออื่น

ก. ผมเรียนท่านไปแล้วว่าคุณจะมาวันนี้

ข. ท่านเดินทางไปต่างประเทศเมื่อวานนี้แล้ว

ค. ดิฉันเห็นท่านเดินไปที่ห้องประชุมเมื่อสักครู่

ง. ขอเชิญท่านถ่ายรูป เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพด้วยครับ

๑๓. ข้อใดคือความหมายของคำวิเศษณ์

ก. คำที่ใช้ขยาย ข. คำที่ใช้แทนชื่อ

ค. คำที่ใช้เรียกชื่อ ง. คำแสดงอาการ พฤติกรรม

๑๔. ข้อใดมีคำวิเศษณ์อยู่ในประโยค

ก. ฉันกินข้าว

ข. พี่ซื้อโทรศัพท์

ค. น้องดื่มน้ำ

ง. พ่อนั่งใต้ต้นไม้ใหญ่

๑๕. “เธอเลี้ยงหมาชื่อเจ้าเตี้ย” คำว่า หมา เป็นคำอะไร

ก. คำนาม ข. คำสรรพนาม

ค. คำกริยา ง. คำวิเศษณ์

โพสต์โดย นุช : [27 มี.ค. 2564 เวลา 18:29 น.]
อ่าน [6481] ไอพี : 171.6.217.249
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 11,241 ครั้ง
5 อาชีพที่ทำได้แม้อยู่บ้าน
5 อาชีพที่ทำได้แม้อยู่บ้าน

เปิดอ่าน 18,456 ครั้ง
อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ
อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ

เปิดอ่าน 13,952 ครั้ง
ปิดเทอมเพิ่มทักษะประสบการณ์อยู่ที่บ้านได้ความรู้คู่เพลิดเพลิน แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เที่ยวไป เรียนไปกับ สสวท.
ปิดเทอมเพิ่มทักษะประสบการณ์อยู่ที่บ้านได้ความรู้คู่เพลิดเพลิน แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เที่ยวไป เรียนไปกับ สสวท.

เปิดอ่าน 63,822 ครั้ง
จรรยาบรรณครู
จรรยาบรรณครู

เปิดอ่าน 84,885 ครั้ง
คาถาเรียกทรัพย์ ของหลวงปู่เสือดำ
คาถาเรียกทรัพย์ ของหลวงปู่เสือดำ

เปิดอ่าน 13,369 ครั้ง
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์

เปิดอ่าน 15,962 ครั้ง
กำนันสิตาย(MV) คลิปเลียนแบบ กังนัมสไตล์ ฮาแค่ไหน ดูเอาเอง
กำนันสิตาย(MV) คลิปเลียนแบบ กังนัมสไตล์ ฮาแค่ไหน ดูเอาเอง

เปิดอ่าน 16,015 ครั้ง
เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก
เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก

เปิดอ่าน 27,904 ครั้ง
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน

เปิดอ่าน 12,552 ครั้ง
เรียนต่ออังกฤษต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาเจาะลึกกัน
เรียนต่ออังกฤษต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาเจาะลึกกัน

เปิดอ่าน 7,820 ครั้ง
รื้อระบบ - แก้ยกแผงดันมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก
รื้อระบบ - แก้ยกแผงดันมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก

เปิดอ่าน 9,881 ครั้ง
How to Sync Keyboard Shortcuts with iCloud in iOS 6
How to Sync Keyboard Shortcuts with iCloud in iOS 6

เปิดอ่าน 13,816 ครั้ง
"นักวิทย์-นักคิด" ผู้ทรงอิทธิพลใน TIME 100
"นักวิทย์-นักคิด" ผู้ทรงอิทธิพลใน TIME 100

เปิดอ่าน 14,926 ครั้ง
ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??
ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??

เปิดอ่าน 16,908 ครั้ง
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ

เปิดอ่าน 45,536 ครั้ง
โอลิมปิก : ประวัติกีฬาโอลิมปิก
โอลิมปิก : ประวัติกีฬาโอลิมปิก
เปิดอ่าน 14,793 ครั้ง
สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
เปิดอ่าน 12,776 ครั้ง
22 จานเด็ด ลดเสี่ยงมะเร็ง
22 จานเด็ด ลดเสี่ยงมะเร็ง
เปิดอ่าน 26,741 ครั้ง
10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขตามหลักวิทยาศาสตร์
10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขตามหลักวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 21,433 ครั้ง
ข่าวดีของบรรดาคนศีรษะล้านทั้งโลก ยาโรคต้อหินกลายเป็นยาปลูกผมได้
ข่าวดีของบรรดาคนศีรษะล้านทั้งโลก ยาโรคต้อหินกลายเป็นยาปลูกผมได้

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ