ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ชื่อผู้ประเมิน : นายอดิศักดิ์ สีคราม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทรายทอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ปีพุทธศักราช : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทรายทองปีการศึกษา 2563
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ (2)เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3)เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียน จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 33 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ( ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารจำนวน 2 คน ) รวมจำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ (1) แบบสอบถามด้านบริบทของโครงการ (2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3) แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการ (4) แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ (5) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (6) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมินโครงการ
จากการศึกษาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านทรายทองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านทรายทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตของโครงการ( = 4.51 , = .20) ด้านบริบทของโครงการ( = 4.36 , = .15) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ( = 4.36 , = .18) และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ( = 4.34 , = .14)
2. การประเมินด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับ
มาก( = 4.36 , = .15) เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.50 ความจำเป็นของโครงการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.40 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.32 และ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด/โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25
3. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีความเพียงพอเหมาะสม อยู่ในระดับมาก( = 4.34 , = .14) เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.40 ความเหมาะสมของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.31 ความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25 และ ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.16
4. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก( = 4.36 , = .18 เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกระบวนการขั้นตอนสู่โครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51 และด้านกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.36
5. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก( = 4.51 , = .20) เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ผลการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ 5 หรือระดับมากที่สุด ค่าร้อยละเท่ากับ 100.00 รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และผลการดำเนินงาน โครงการเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43
6. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลการดำเนินงานโครงการในระดับมากที่สุด โดยได้คะแนนรวม 88.60 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกัน โดยผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของการประเมินทั้ง 4 ด้าน จำนวน 13 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินทั้ง 13 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านกระบวนการขั้นตอนโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของกิจกรรม ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด / โรงเรียน ความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และผลการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง