บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยของโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ประเมินด้านบริบท 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินด้านกระบวนการ 4) ประเมินด้านผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนาจำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา จำนวน 25 คน นักเรียนโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการประเมินดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบบท(Context)ของโครงการ พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อความสอดคล้องด้านบริบทของโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยของโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โดยภาพรวมมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความสอดคล้องกับปัญหาและความจำเป็นมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือความสอดคล้องของโครงการกับวิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input)ของโครงการพบว่า ผู้บริหารและครูมีความเห็นต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยของโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยตามลำดับได้แก่ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากับด้านความพอเพียงของงบประมาณอยู่ในระดับมากที่สุดและด้านความพร้อมของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผลกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process)ของโครงการพบว่า ผู้บริหารและครูมีความเห็นต่อระดับการปฏิบัติกิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยของโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือด้านกระบวนการวางแผนกำหนดงาน/ปฏิทินปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมตามแผน อยู่ในระดับมาก และ ด้านการกำกับนิเทศติดตามประเมินผลกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผลอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ พบว่า ผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นต่อผลผลิตของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยของโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับคือ ด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านภาษาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้บริหารคณะครู นักเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินการโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ มีการประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมทำให้มีความเข้าใจชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเสนอกิจกรรมหรือปรับปรุงกิจกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์น้อย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุดและนักเรียนเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม ด้วยความสมัครใจ อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เปิดโอกาสให้คิดตัดสินใจเลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้