1. หลักการ
ในยุคที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นเพราะความก้าวหน้าในทางเทคโนโลยีและความสะดวกในการเดินทาง ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทต่อสังคมและการดำรงชีวิตมากขึ้น เนื่องจากภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารของผู้คน เมื่อภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อผู้คนในการติดต่อสื่อสารเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้มีโอกาสทางหน้าที่การงาน โอกาสทางการศึกษา การเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อเด็กไทยและคนไทย โดยเฉพาะตอนนี้ที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกอาเซียน ภาษาอังกฤษยิ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในยุคนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554, หน้า 48)การศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันจึงได้มุ่นเน้นให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมากเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาของผู้เรียน ให้สามารถติดต่อสื่อสารและรับสารที่เป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่จะใช้ในการศึกษาต่อสามารถใช้ภาษาอังกฤษเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมโดยได้เน้นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจัดสถานการณ์ไห้ผู้เรียนได้สัมผัสกับภาษาอังกฤษมากที่สุด มีซึ่งสอดคล้องกับ แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (2557, หน้า 1) ด้วยภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดภาษาหนึ่งโดยที่องค์ความรู้ที่สำคัญของโลกส่วนใหญ่ถูกบันทึกและเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเข้าถึงองค์ความรู้ก้าวทันโลกรวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป
อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนก็ยังพบว่ามีปัญหานักเรียนไม่สามารถสื่อสารหรือบรรลุจุดประสงค์ตัวชี้วัดที่วางไว้ จากประสบการณ์ในการสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนศรีรัตนวิทยาพบว่านักเรียนออกเสียง S ท้ายคำไม่ถูกต้องซึ่งการออกเสียงเป็นสิ่งสำคัญถ้าอ่านออกเสียงไม่ถูกต้องความหมายก็จะผิด เสียง S ท้ายคำสามารถออกเสียงที่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับ สันทนา สุธาดารัตน์ (2555, หน้า 22) ได้กล่าวว่าตัวสะกดกับการออกเสียงต่างๆมักจะไม่สอดคล้องกัน การศึกษาสรีรสัทศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีสัทอักษร (phonetic alphabet)เพื่อใช้ในการถอดเสียงภาษาต่างๆให้เป็นที่เข้าใจกันเป็นสากล
ผู้สอนจึงสนใจที่จะทำการศึกษาในชั้นเรียนโดยวิธีการสอนการแก้ปัญหาการออกเสียง S ท้ายคำโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets chart) ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถออกเสียง S ท้ายคำได้ถูกต้องและเป็นแนวทางให้นักเรียนสามารถฝึกการพัฒนาทักษะที่เรียนไปสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ไขการออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีรัตวิทยา
3. วิธีดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขการออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนศรีรัตวิทยา โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยดังนี้
กลุ่มเป้าหมายการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
วิธีดำเนินการทดลอง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศรีรัตนวิทยา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศรีรัตนวิทยา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเป็นหน่วยทดลองกับนักเรียนจำนวน 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ คือการสอนโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart)
ตัวแปรตาม ได้แก่ การออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ
แผนการสอนโดยใช้ แผนการเรียนรู้จำนวน 3 แผน คือ
No 1. Voiceless sounds; /p/ /t/ /k/ /f/ /θ/
No 2. Voiced sounds; /b/ /d/ /g/ /v/ /ð/ /h/ /m/ /n/ /ŋ/ /l/ /w/ /r/ /j/
No 3. Voiceless sounds; Fricative Voiced/Voiceless Sounds and Affricate voiced/voiceless sounds; /s/ /z/ /ʃ/ /ʒ/ /tʃ/ /dʒ/
IPA (International Phonetic Alphabets Chart) ที่สร้างขึ้นมาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล
3. แบบทดสอบการออกเสียงคำศัพท์ที่มี S ท้ายคำจำนวน 1 ชุด 21 คำซึ่งจะประกอบไปด้วยเสียง S ท้ายคำตามหลังเสียงต่อไปนี้
1. เสียงก้อง (voiced sounds)
2. เสียงไม่ก้อง (voiceless sounds)
3. เสียงเสียดแทรก (fricative sounds)
4. เสียงกักเสียดแทรก (affricate sounds)
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในเดือนมกราคม ระยะเวลา 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์รวมทั้งสิ้น 2 สัปดาห์
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย ดังนี้
การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
1. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยศึกษาสารการเรียนรู้ สาระสำคัญ หลักสูตรสถานศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยศึกษาสาระการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นหน่วยการเรียนรู้เนื้อหาสาระ และ ตัวชี้วัดของวิชาภาษาอังกฤษ (อ31102)
1.2 ศึกษาเนื้อหา หน้าที่ของภาษา และ บริบทของภาษาอังกฤษที่ปรากฏในหลักสูตรและตำราเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษ (อ31102) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1.3 กำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ตามผลการเรียนรู้กำหนดหน่วยการสอนโดยวิเคราะห์เนื้อหาเสียงที่เป็นปัญหาของนักเรียนให้เหมาะสมกับเวลา
1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนจำนวน 3 แผนเพื่อใช้ในการทดลอง
1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษ 2 ท่าน อาจารย์ชาวต่างชาติ 1 ท่าน ไปใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน แล้วนำแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง แผนมาปรับปรุงแก้ไข
1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องไปใช้ทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาระดับชั้น ม. 4/2 จำนวน 37 คนโดยกลุ่มตัวอย่างได้มากจากการสุ่มอย่างง่าย
2. การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำศัพท์
2.1 กำหนดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart) มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน
Presentation ครูใช้ IPA อธิบาย Voiced sounds/Voiceless sounds/Fricative sounds/Affricate sounds
Demonstration ครูออกเสียง Voiced sounds/Voiceless sounds/Fricative sounds/Affricate sounds ให้นักเรียนฟัง
Practice นักเรียนฝึกออกเสียง S ท้ายคำตามหลังเสียง Voiced sounds/Voiceless sounds/Fricative sounds/Affricate sounds
Evaluation ครูกำหนดเสียง Voiced sounds/Voiceless sounds/Fricative sounds/Affricate sounds
แล้วนำไปให้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษจำนวน 3 ท่าน ประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 2 ท่าน อาจารย์ชาวต่างชาติจำนวน 1 ท่าน ได้ตรวจดูความเหมาะสมของเนื้อหาต่างๆพร้อมทั้งจำนวนเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการทดลอง 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
2.3 สร้างแบบฝึกประกอบการสอน นำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษทั้ง 3 ท่าน เพื่อให้แบบฝึกประกอบการสอนมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2.4 นำแบบฝึกที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษ 2 ท่าน อาจารย์ชาวต่างชาติ 1 ท่าน แล้วนำแบบฝึกมาปรับปรุงแก้ไข
2.5 นำแบบฝึกที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านและผ่านการทดลองกับกลุ่มย่อยไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 37 คนโดยกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
3. การสร้างแบบทดสอบการเขียนสะกดคำ
3.1 ศึกษาแนวทางการสร้างแบบวัดประสิทธิภาพของแบบฝึก
3.2 ศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หน่วยการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนศรีรัตนวิทยาและจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
3.3 สร้างแบบทดสอบการออกเสียงคำที่มีเสียง S ท้ายคำจำนวน21 คำ
3.4 นำแบบทดสอบให้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษจำนวน 3 ท่าน ประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 2 ท่าน อาจารย์ชาวต่างชาติจำนวน 1 ท่าน ได้ตรวจดูความเหมาะสมของเนื้อหา
3.5 นำแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษ 2 ท่าน อาจารย์ชาวต่างชาติ 1 ท่าน ไปใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน แล้วนำแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไข
3.6 นำแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านและผ่านการทดลองกับกลุ่มย่อยไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 37 คนโดยกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
วิธีดำเนินการทดลอง
ระยะเตรียมการทดลอง
1.1 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หน่วยการเรียนรู้ และมาตรฐานการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
1.2 สร้างแบบฝึกการออกเสียงคำที่มีเสียง S ท้ายคำจำนวน 21 คำ
1.3. สร้างแบบทดสอบการออกเสียงคำที่มีเสียง S ท้ายคำภาษาอังกฤษก่อนเรียนละหลังเรียน
1.4 สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะดำเนินการทดลอง
2.1 จัดปฐมนิเทศทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงวิธีการเรียน จุดประสงค์ในการเรียนและวิธีการประเมินผลการเรียน
2.2 ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบการออกเสียงคำที่มีเสียง S ท้ายคำ 21 คำ
2.3 เมื่อทดสอบก่อนเรียนแล้ว จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสอนตามแผนการสอนโดย ใช้เวลาสอนรวม 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนเอง ซึ่งแต่ละเกมมีกติกาดังต่อไปนี้
2.4 ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ฝึกการออกเสียงคำที่มีเสียง S ท้ายคำจำนวน 21 คำ
ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน โดยใช้รูปแบบ One-Group Pretest - Posttest Design มีรูปแบบดังนี้
เมื่อกำหนด O1 หมายถึง การฝึกก่อนเรียน
X หมายถึง แบบเรียน
O2 หมายถึง การฝึกหลังเรียน
ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1. ค่าเฉลี่ย
=
2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
¯X แทน ค่าเฉลี่ย
S.D แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4. สรุปผลการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / 2 โรงเรียนศรีรัตนวิทยาโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets chart) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศรีรัตนวิทยา ดังนี้
1. การแก้ปัญหาการออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / 2 โรงเรียนศรีรัตนวิทยาโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets chart) พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ในการออกเสียง S ท้ายคำโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 211.4 คิดเป็นร้อยละ 88.48 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังการเรียนการออกเสียง S ท้ายคำโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart) กลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ 88.48 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80%
การอภิปรายผล
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์แก้ปัญหาการออกเสียง S ท้ายคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets chart) ผู้สอนขออภิปรายผลดังนี้ หลังการเรียนการออกเสียง S ท้ายคำโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart) กลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80% อาจเนื่องมาจากการจัดขั้นลำดับการสอนที่มีการฝึกออกเสียง ตามลำดับขั้นตอน และมีการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ มีการทบทวนความรู้เดิม ทั้งใช้การถามตอบให้นักเรียนรู้จักสังเกตการออกเสียง S ท้ายคำที่แตกต่างกันเพราะเสียงท้ายคำก่อนเติม S โดยใช้สัทอักษรมาเป็นตัวเทียบเสียงทำให้นักเรียนสามารถเห็นความแตกต่างของแต่ละเสียงได้ง่ายและสามารถออกเสียง S ท้ายคำได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีราภรณ์ พลายเล็ก (2555, หน้า 55) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจากการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคำภาษาอังกฤษ พบว่านักเรียนสามารถออกเสียงพยัญชนะท้ายคำได้ถูกต้องหลังจากการใช้ชุดการเรียนรู้ โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังใช้ชุดการเรียนรู้เท่ากับ4 4.77 และจากการเปรียบเทียบคะแนนโดยรวมก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า คะแนนของแบบทดสอบหลังเรียน (X =44.77) สูงกว่าก่อนเรียน (X = 1.67) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กรณีดังกล่าวอธิบายได้ว่าเมื่อนักเรียนได้เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีความเข้าใจหลักในการออกเสียงมากยิ่งขึ้น รวมถึงการได้ฝึกฝนการออกเสียงพยัญชนะท้ายคำหน่วยเสียงต่างๆ นักเรียนจึงออกเสียงพยัญชนะท้ายคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับงานวิจัยของจันทนี กัณโฑ (2556, หน้า 14) ที่กล่าวว่าจากผลการวิจัยในการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง TI 101 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จานวน 26 คน พบว่า ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานว่านักศึกษาที่ออกเสียงท้าย - ts / - st / -s ไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน สามารถออกเสียง - ts / - st / -s หลังการฝึก ได้ถูกต้องและชัดเจนทุกคน
จากผลการศึกษาในการแก้ปัญหาการออกเสียง S ท้ายคำโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart)แสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้เนื่องมาจากแผนการสอนและการสอนที่เป็นขั้นตอนเน้นการฝึกออกเสียงที่เป็นปัญหา จึงช่วยให้นักเรียนสามารถเห็นความแตกต่างของเสียงเหล่านั้น ส่งผลให้นักเรียนได้ฝึกสังเกตก่อนการออกเสียงท้ายคำ
ข้อเสนอแนะเพื่อการสอน
1. ในระยะแรกนักเรียนยังไม่มีแรงบันดาลใจในการที่จะพัฒนาการอ่านออกเสียงของตัวนักเรียนเอง ผู้สอนจึงสร้างแรงบันดาลใจโดยการใช้วิธีการเสริมแรงให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
2.นักเรียนบางคนไม่มีพื้นฐานมาก่อนในการอ่านออกเสียงภาษอังกฤษผู้สอนจึงสอนให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงกับตัวอักษร ผู้สอนได้ฝึกให้นักเรียนอ่านออกเสียงและสังเกตว่าเสียงท้ายมีอิทธิพลทำให้เสียง S เปลี่ยนแปลงอย่างไรโดยที่ผู้สอนต้องตั้งคำถามกับนักเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย
ควรทำการศึกษา ทดลองออกเสียงที่มีปัญหาอื่นๆบ้าง เช่นเสียง /ʃ/ , /ʒ/ , /ʧ/ , /ʤ/ เป็นต้น
ควรทำการเปรียบเทียบเสียงทั้งเสียงกลางประโยคและเสียงท้ายประโยค
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบว่าการสอนโดยใช้ IPA (International Phonetic Alphabets Chart) ในการสอนออกเสียง S ท้ายคำสามารถแก้ปัญหาการออกเสียงได้หรือไม่
เป็นแนวทางในการเรียนการสอนและนำไปใช้ในการออกเสียงอื่นๆที่เป็นปัญหาต่อไป