ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๘
ชื่อผู้วิจัย กนกพร บุญลือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อฝึกให้นักเรียนเขียนสะกดคำจากมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วได้สรุปผลแล้วจึงนำมาจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นข้อมูลในการวิจัยในครั้งต่อไป
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อผู้วิจัย กนกพร บุญลือ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
สภาพปัญหา
จากการสอนทักษะการเขียนสะกดคำ พบว่า เมื่อครูให้นักเรียนอ่านบทเรียน หรือ หนังสือนอกเวลา แล้วกำหนดคำให้นักเรียนเขียนตามคำบอก จากคำที่ครูกำหนดขึ้น นักเรียนจะไม่สามารถเขียนคำได้ถูกต้อง ตามมาตราตัวสะกด ต่างๆ ครูผู้สอนจึงจึงเกิดความคิดที่ว่า การ ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือนิทาน และการฝึกให้นักเรียนได้เขียนสะกดคำบ่อยๆ จะช่วยให้นักเรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1. หนังสือนิทาน หนังสือเรียน ใช้ประกอบการค้นหาคำศัพท์ต่างๆ
2. การนำคำศัพท์ที่หาได้ มาแยกให้ตรงตามมาตราตัวสะกดต่างๆ
3. ฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียน
จุดประสงค์การวิจัย
การได้ค้นคว้าหาคำศัพท์ตามที่นักเรียนสนใจ และการได้ฝึกเขียนบ่อยๆ จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถเขียนสะกดคำ ( คำศัพท์ ) ในมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ระยะเวลาในการดำเนินการ
มิถุนายน 2561 - กุมภาพันธ์ 2562
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนค้นคว้าหาคำศัพท์จากหนังสือนิทานต่างๆ ทุกมาตราตัวสะกด
2. ตรวจผลงานนักเรียน บันทึกคะแนน โดยแบ่งคะแนนเป็น
- การเขียนโดยใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
- การเขียนสะกดคำโดยใช้ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
3. บันทึกคะแนน
4. เขียนสะกดคำจากใบงาน
5. ตรวจผลงาน โดยใช้เกณฑ์เดียวกับการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
6. บันทึกคะแนน
7. เปรียบเทียบคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. สรุปผลการวิจัย
เรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
ความสำคัญและที่มา
จากการสอนทักษะการเขียนสะกดคำ พบว่า เมื่อครูให้นักเรียนอ่านบทเรียน หรือ หนังสือนอกเวลา แล้วกำหนดคำให้นักเรียนเขียนตามคำบอก จากคำที่ครูกำหนดขึ้น นักเรียนไม่สามารถเขียนคำได้ถูกต้อง ตามมาตราตัวสะกด ต่างๆ ครูผู้สอนจึงจึงเกิดความคิดที่ว่า การ ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือนิทานต่างๆ และการฝึกให้นักเรียนได้เขียนสะกดคำบ่อยๆ จะช่วยให้นักเรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
จุดม่งหมาย
การได้ค้นคว้าหาคำศัพท์ตามที่นักเรียนสนใจ และการได้ฝึกเขียนบ่อยๆ จากใบงาน จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถเขียนสะกดคำ ( คำศัพท์ ) ในมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ตัวแปรที่ศึกษา
ในการวิจัยในครั้งนี้ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
1. ตัวแปรอิสระ คือ นักเรียนฝึกเขียนสะกดคำจากเอกสารต่างๆ และใบงาน
2. ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการเขียนสะกดคำ
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ใบงานการเขียนสะกดคำต่างๆ หมายถึง ใบงานที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมา โดยการนำคำศัพท์ที่เขียนสะกดคำด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆ และเป็นคำที่นักเรียนมักจะใช้ตัวสะกดผิด ในบทเรียนต่างๆ
ความสามารถในการเขียนสะกดคำ หมายถึง คะแนนที่ได้จากการเขียนสะกดคำ ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้น
2. ผู้เรียนเข้าใจและนำมาตราตัวสะกดต่างๆไปใช้ได้ถูกต้อง
ขอบเขตของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 10 คน
2. ใบงานการเขียนสะกดคำศัพท์ในมาตราตัวสะกดต่างๆ
ระยะเวลาในการดำเนินการ
มิถุนายน 2561 - กุมภาพันธ์ 2562
วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. คัดเลือกนักเรียน
2. มอบหมายงาน
3. ดำเนินการ
4. รวบรวมข้อมูล
5. สรุปผล
สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
1. การทดสอบก่อนเรียน นักเรียนคัดเลือกคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือนิทาน แล้วนำคำศัพท์มาติดลงในใบงานที่ครูกำหนดให้ 9 มาตราตัวสะกด ผลการเขียนสะกดคำนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 8 มาตราตัวสะกด
รวมเฉลี่ยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 77.50
2. ใบงานที่ 1 มาตราตัวสะกด แม่ กง เติมคำที่มีตัวสะกด 8 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100
3. ใบงานที่ 2 มาตราตัวสะกดแม่ กน เติมตัวสะกด เขียนคำ และแต่งประโยค จำนวน 26 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
4. ใบงานที่ 3 มาตราตัวสะกด แม่ กม เติมคำที่มีตัวสะกด จำนวน 10 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
5. ใบงานที่ 4 มาตราตัวสะกด แม่ เกย หาคำที่มี ย สะกด และแต่งประโยค เติมคำในประโยค จำนวน 15 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
6. ใบงานที่ 5 มาตราตัวสะกด แม่ เกอว ระบายสีคำที่มี ว สะกด จำนวน 8 ข้อผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
7. ใบงานที่ 6 มาตราตัวสะกด แม่ กก ระบายสีคำที่มีตัวสะกด จำนวน 21 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเเกณฑ์ร้อยละ 80
8. ใบงานที่ 7 มาตราตัวสะกด แม่ กด เติมคำที่มีตัวสะกด จำนวน 12 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
9 ใบงานที่ 8 มาตราตัวสะกด แม่ กบ เติมคำที่มีตัวสะกด จำนวน 10 ข้อ ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
11. ผลจากการเขียนสะกดคำจากใบงานทั้ง 9 มาตราตัวสะกด นักเรียนเขียนสะกดคำผ่านร้อยละ 77.50