ชื่อรายงาน ผลของการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000 ที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3
ผู้เขียน นายนิรันดร์ อาแว
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนเพื่อวัดความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนบ้านจือนือแร อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
1.ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องกโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
3.แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
4.แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000 ชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
5.แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
6.แบบวัดความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ซึ่งเป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า (rating scale) จำนวน 10 ข้อ
สำหรับแบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่อโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 และชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มี ตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รวมทั้งคู่มือการใช้ ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ได้จัดเก็บรวมไว้ใน ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 และชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ผู้ศึกษาได้นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่า
1.ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 มีประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นร้อยละ 76.03/74.00 และชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 มีประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นร้อยละ 73.33/71.00 ซึ่งชุดฝึกทักษะทั้งสองชุดมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 และชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 สูงกว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 และชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.48 ซึ่งมีความสนใจอยู่ในระดับมาก