รายงานการวิจัยหน้าเดียว
ชื่อเรื่อง การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5Es) รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม
ผู้วิจัย ชื่อ นางปภัชญา บรรเทาทุกข์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จังหวัดสุโขทัย
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
สภาพปัญหา
จากการสอนวิชาเคมี เรื่องพอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม พบว่า มีนักเรียนจำนวน ๑๑ คน ไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนเรื่องพอลิเมอร์ เนื่องจากว่านักเรียนจำชื่อ
พอลิเมอร์และสูตรของพอลิเมอร์ไม่ได้ เมื่อให้นักเรียนสอบเก็บคะแนนย่อยจึงไม่ผ่าน ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานและผ่อนคลายประกอบการเรียนสอนตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะพัฒนาความสามารถในการจำพอลิเมอร์และสูตรของพอลิเมอร์ การใช้สื่อนวัตกรรมที่ดีเข้ามาจัดกระบวนการเรียน จึงจะช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิ์ภาพรวมถึงความคงทนในการจำชื่อและการเขียนสูตรของพอลิเมอร์
ปัญหาการวิจัย
ทำอย่างไรที่จะทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ จำนวน ๑๑ คน ที่เรียนวิชาเคมี เรื่อง พอลิเมอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
เป้าหมายการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5Es) เรื่องพอลิเมอร์
ขอบเขตการวิจัย
๑. ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ จำนวน ๑๑ คน โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จังหวัดสุโขทัย
๒. เครื่องมือที่ใช้
๒.๑ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 : เรื่อง การเกิดพอลิเมอร์
๒.๒ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 : เรื่อง พลาสติก
๒.๓ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 : เรื่อง ยางและเส้นใย
๒.๔ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 : เรื่อง ผลกระทบของการใช้พอลิเมอร์
๒.๕ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิธีการวิจัย
๑. สร้างแบบทดสอบเพื่อใช้ในการทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา
๒. สร้างชุดกิจกรรม
๒.๑ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 : เรื่อง การเกิดพอลิเมอร์
๒.๒ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 : เรื่อง พลาสติก
๒.๓ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 : เรื่อง ยางและเส้นใย
๒.๔ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 : เรื่อง ผลกระทบของการใช้พอลิเมอร์
๓. สร้างแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนแต่ละเรื่อง
๔. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๕ .ให้นักเรียนศึกษาชุดกิจกรรมที่กำหนดให้ ใช้เวลาเรื่องละ ๒ ชั่วโมงและทำแบบฝึกหัด
๖ .ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนบันทึกผลคะแนน
๗. สรุปผลการพัฒนา โดยนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์
ช่วงเวลาดำเนินการ
- สร้างแบบทดสอบ จำนวน ๑๐ ข้อ
- สร้างแบบฝึกหัด ๔ เรื่อง เรื่องละ จำนวน ๑๐ ข้อ
- นักเรียนศึกษา เรียนรู้ และฝึกฝนการอ่านและเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ระหว่างวันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ๓o ๒๕๖๒
- นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ๒-๖ ธันวาคม ๒๕๖๒
ผลการวิจัย
๑. ก่อนศึกษาชุดกิจกรรมและทำฝึกหัด นักเรียนมีผลประเมินดังนี้ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๘-๑๐ คะแนน มีคุณภาพระดับ ดีมาก
จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ -
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๖-๗ คะแนน มีคุณภาพระดับ ปานกลาง
จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ -
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๑-๕ คะแนน มีคุณภาพระดับ ปรับปรุง
จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑oo
๒. หลังจากให้นักเรียนศึกษาชุดกิจกรรมและทำแบบฝึกหัด มีผลการประเมินดังนี้ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๘-๑๐ คะแนน มีคุณภาพระดับ ดีมาก
จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๗๒
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๖-๗ คะแนน มีคุณภาพระดับ ปานกลาง
จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๘
- นักเรียนได้คะแนน ระหว่าง ๑-๕ คะแนน มีคุณภาพระดับ ปรับปรุง
จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ
เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5Es) เรื่อง ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ เป็นรายบุคคล พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ดีขึ้น ร้อยละ ๑๐๐
ข้อเสนอแนะ
๑. หาแบบฝึกหัดง่ายๆ ให้นักเรียนฝึกทำทุกสัปดาห์
๒. ครูควรออกข้อสอบให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการจัดการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม
๓. อยากให้มีใช้โปรแกรม Kahoot Application มาใช้ในห้องเรียน