บทคัดย่อ
โรงเรียนวัดหนองพังตรุ
การวิจัยปฏิบัติการ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564
หัวเรื่องวิจัย การพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมือในการทำงาน
เด็ก ๆ สามารถมีพัฒนาการที่ดีได้โดย ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กให้ความรัก ความเอาใจใส่ดูแล ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กมีความพร้อมทั้งทางสุขภาพกาย สุขภาพจิตอารมณ์ ได้รับการยอมรับในสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี เด็กมีความสุขก็จะมีพัฒนาการด้านสติปัญญาตามมา
ในการที่ข้าพเจ้า ได้คลุกคลีอยู่กับเด็กอนุบาลก็ได้คิดวิธีที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง และมีลายมือที่สวยงาม ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
หัวข้อวิจัย การพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมือในการทำงาน
ที่มาของปัญหา
ในปัจจุบันนี้เด็กไทยและเยาวชนมักจะเขียนตัวอักษรตามใจตัวเองมักจะเขียนจากหาง
ไปหาหัวหรือไม่มักจะเขียนตัวอักษรกลับหัวกลับด้าน และเด็กไทยส่วนใหญ่มักจะเลียนแบบจากหนังสือการ์ตูนที่แปลมาจากต่างประเทศจึงทำให้ลักษณะของตัวอักษรไทยเปลี่ยนแปลงไป
ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นครูสอนชั้นอนุบาลจึงคิดวิธีการเริ่มต้นการเขียนของเด็กโดยเริ่มในสิ่งที่เด็กสนใจก่อน จากง่ายไปหายาก และผลงานที่เด็กทำแล้วต้องดีเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจและไม่
เบื่อหน่ายในการเขียนต่อไป
คำถามวิจัย
ถ้าเด็กฝึกการเขียนอักษรไทย โดยใช้แบบฝึกหัดจากการเขียนตามรอยเส้นประ แล้วเด็กจะสามารถเขียนถูกต้องและมีลายมือที่สวยงามตามแบบไทยติดตัวไปจนโตหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานในการเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องมีลายมือสวยงามตามแบบไทย และเพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ในการเขียนลายมืองามตามแบบไทยไว้ให้คงอยู่สืบไป
กลุ่มเป้หมาย
เด็กชายเมธี สังข์กลิ่นหอม นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนวัดหนองพังตรุ ปีการศึกษา 2563
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบฝึกเขียนตามรอยประรูปภาพ และระบายสี
2. แบบฝึกลากเส้นต่อจุด
3. แบบฝึกระบายสีภาพ
4. แบบฝึกลีลามือ เขียนตามรอยประตัวเลขอารบิค และตัวอักษร
5. แบบบันทึกผลงาน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. สัปดาห์ที่ 1-2 ให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือ โดยใช้กิจกรรมและเกม เช่น การเล่นต่อไม้ บล็อก ตัวต่อพลาสติก การขยำกระดาษ และการปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น
2. สัปดาห์ที่ 3-5 เริ่มฝึกลีลามือ โดยใช้แบบฝึกที่เป็นรูปภาพ การลากเส้นต่อจุด การระบายสีภาพ
3. สัปดาห์ที่ 6-8 เป็นต้นไปเริ่มเขียนลีลามือจากตัวเลขอารบิคก่อน และเขียนตัวอักษร โดยครูจับมือเด็กพร้อมบอกจุดเริ่มต้นที่จะเขียน แล้วให้เด็กเขียนให้ครูดูก่อนประมาณ 2 ตัว ถ้าเด็กเขียนได้ก็ให้กลับไปทำมาให้ครูดู
4. สัปดาห์ที่ 9 เมื่อเด็กเขียนลีลามือคล่องดีแล้ว ให้เด็กเริ่มฝึกเขียนเอง โดยครูเตรียมเขียนตัวอักษรต้นแบบไว้ให้ แล้วให้เด็กฝึกเขียนตามด้วยตนเอง
ผลการวิจัย
จากการวิจัยพบว่าการพัฒนาทักษะความพร้อมในการเขียนอักษรของ
เด็กชายเมธี สังข์กลิ่นหอม การปั้นดินน้ำมัน ระดับคะแนนเป็น 1 ค่าเฉลี่ยเป็น 0.1 การระบายสีภาพ การเขียนตัวอักษรตามตัวอย่าง ระดับคะแนนเป็น 2 ค่าเฉลี่ยเป็น 0.2 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 20 การต่อไม้บล็อก การต่อพลาสติก ลากเส้นต่อจุด การเขียนตามรอยประรูปภาพและการเขียนตัวเลขอารบิค 1-10 ระดับคะแนนเป็น 3 ค่าเฉลี่ยเป็น 0.5 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 50
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. เด็กและผู้ปกครองมีความภาคภูมใจ ในผลงานทำให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาการเขียนให้ดียิ่งขึ้น
2. พื้นฐานการเขียนตัวอักษรถูกต้องตามอักขระวิธีการเขียนหนังสือไทย
3. ฝึกเด็กให้ทำงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบเรียบร้อย
ข้อเสนอแนะ
ในการสอนชั้นอนุบาลต้องเอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและต้องค่อยเป็นค่อยไปสอนตัวต่อตัวจึงจะได้ผล เด็กจะได้มีพัฒนาการและมีทักษะที่ดีเด็กที่มีพัฒนาการช้าก็ควรให้แบบฝึกบ่อย ๆ แบบฝึกเป็นกิจกรรมหรือเกมช่วยโดยที่เด็กไม่รู้ตัวและเมื่อเด็กพร้อมก็จะทำได้แบบประเมินความพร้อม