หลักการและเหตุผล
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติ เพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงาน ทั้งส่วนตน ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะอย่างถูกต้องเหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม และภูมิใจในภาษาไทย
ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ นักเรียนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ไม่ถูกต้อง และไม่ชัดเจน ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับผลการประเมินจากการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ หากปล่อยให้ปัญหานี้ดำเนินต่อไป จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้น และจะเป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร และจะมีผลทำให้การเขียนคำควบกล้ำผิดอีกด้วย
จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะแก้ปัญหาโดยการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการอ่านและการเรียนรู้ได้หากมีเวลาและตั้งใจฝึกอย่างจริงจัง
วัตถุประสงค์การวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์
๒. เพื่อเปรียบเทียบการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียง คำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้
๓. เพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ให้ถูกต้อง
ขอบเขตของการวิจัย
๑. ในการวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียง
คำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์
๒. ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียน
บ้านสำนักขาม ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๒๐ คน
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
๑. แบบฝึกเสริมทักษะ หมายถึง แบบฝึกที่นำมาเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์
๒. การอ่านออกเสียง หมายถึง อ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการอ่านออกเสียงตามแบบที่
ครูสร้างขึ้น
๔. ประชากร หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์
๕. กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์
จำนวน ๒๐ คน
สมมุติฐานของการวิจัย
ในการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. นักเรียนสามารถใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ในการ แก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ได้
๒. ใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ในการสอนซ่อมเสริม โดยให้นักเรียนนำไปฝึกอ่านเป็นกลุ่ม หรืออ่านเองที่บ้านได้
๓. เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน
๔. ทำให้ผลการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ การเขียนคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ ถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น