ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายจักรพันธ์ นาทองไชย
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 การศึกษา บริบทและสังเคราะห์ร่างต้นแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการ เรียนรู้
ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การวิจัยระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการ จัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหัวงัววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดความความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบวัดความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ แบบ t-test (Dependent Samples) ผลการดำเนินการ ปรากฏดังนี้
1) การพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบของรูปแบบ 8 องค์ประกอบ คือ
1.1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ
1.2) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ
1.3) หลักการของรูปแบบ
1.4) วัตถุประสงค์ของ รูปแบบ
1.5) ขั้นตอนของรูปแบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1.5.1)ขั้นเตรียมความพร้อม
1.5.2)ขั้นจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.5.2.1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา
1.5.2.2) ขั้นระดมสมอง
1.5.2.3) ขั้นสร้างทางเลือก
1.5.2.4) ขั้นการแก้ปัญหา
1.5.2.5) ขั้นตรวจสอบ
1.5.2.6) ขั้นฝึกทักษะ
1.5.2.7) ขั้นประเมินผล
1.5.3) ขั้นสรุปและประเมินผล
1.6) ระบบสังคม
1.7) หลักการตอบสนอง
1.8) ระบบการสนับสนุน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนบ้านตาลอยหนองคัน พบว่า รูปแบบ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.09/ 81.53 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.90, SD = 0.07)