การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการ แบบ JIAMS+H Model เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่สอดคล้องกับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้เป็นองค์กรคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
ก้าวทันเทคโนโลยี ภาคีร่วมพัฒนา สืบสานเอกลักษณ์ล้านนาและความเป็นไทยภายใต้วิถีพอเพียง
การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการ แบบ JIAMS+H Model เป็นการสร้างความตระหนักให้กับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านนโยบายของโรงเรียนมีการส่งเสริมให้จัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเหมาะสมกับผู้เรียน ครูมีแผนการสอนที่ สอดแทรกการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีงานวิจัยในการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์ถึงความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ภาระงานเร่งด่วนที่จะต้องร่วมกันดำเนินการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้เป็นองค์กรคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ก้าวทันเทคโนโลยี ภาคีร่วมพัฒนา สืบสานเอกลักษณ์ล้านนาและความเป็นไทยภายใต้วิถีพอเพียง (Where are we- now?)
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน โดยใช้ JIAMS+H Model ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนว่าเราจะไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร (How do we get there?)
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (DO) เป็นการนำนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนให้เป็นองค์กรคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ก้าวทันเทคโนโลยี ภาคีร่วมพัฒนา สืบสานเอกลักษณ์ล้านนาและความเป็นไทยภายใต้วิถีพอเพียงโดยใช้ JAIMS+H Model ผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ในประเด็นจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change?) ได้แก่
J - Job descriptions and teams development การกำหนดภาระงานและการพัฒนาทีม
A - Action Research การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
I - Integrating curriculum and instructional innovation creating การบูรณาการหลักสูตร
สู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน
M - Management to Professional Learning Community
การบริหารจัดการสู่ชุมชนการเรียนรู้
S - School Academic Quality Development
การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
H - Handbook คู่มือการใช้และกลไกการบริหาร
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการบริหารโรงเรียน จากการพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการ แบบ JIAMS+H Model โดยยึดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนที่กำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุล รอบด้าน
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง(Reflection) โรงเรียนต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการบริหารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและ คุณภาพของผู้เรียน ธำรงรักษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำผลการประเมิน โดยยึดยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนาโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 2565 จากการใช้ นวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ JAIMS+H Model มาวิเคราะห์และสะท้อนผล การดำเนินงานตามสภาพจริง (Refection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนา หรือไม่ ถ้าหาก "ใช่"ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุง ในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก "ไม่ใช่" แสดงว่ารูปแบบนวัตกรรม การบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ JAIMS+H Model บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถ ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานสโรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อพัฒนาสู่ ความมีคุณภาพที่ยั่งยืนต่อไป