ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบ้านกูยิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1
ผู้ศึกษา นางสาวอารีน่า เจ๊ะดอเล๊าะ
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านกูยิ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบ้านกูยิ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนา
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิ
ภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูยิ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สวนผักพอเพียง สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูยิ ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านกูยิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 10 ข้อ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในระหว่างวันที่ 1 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1) ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกบการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา 2563 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.48/87.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา 2563 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ
51.17 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.48 โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.67
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สวนผักพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 คิดเป็นร้อยละ 88.10 อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สามารถนำเอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไปประยุกต์ใช้สำหรับพัฒนาทักษะอาชีพ เรื่อง สวนผักพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพราะจากการศึกษาได้ยืนยันถึงผลของความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.48/87.83 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สวนผักพอเพียง สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า รายการนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า หลักจากการจัดกิจกรรมต่างๆ นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการประเมินผล ทำให้นักเรียนไม่ทราบเกณฑ์การให้คะแนน จึงส่งผลให้นักเรียนยังไม่พึงพอใจเท่าที่ควร ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการนำไปใช้ควรให้ความสำคัญ โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลให้คะแนน ครูผู้สอนจะต้องชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละกิจกรรมทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนที่ได้คะแนนสูงเกิดความภาคภูมิใจ มีความสุขในการเรียนและสำหรับนักเรียนที่ได้คะแนนในระดับต่ำสามารถปรับปรุงตัว ในกิจกรรมต่อไปให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้น จนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป