ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ผู้ประเมิน ดร.สุเนตร ขวัญดา รองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีที่ทาการประเมิน ปี พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านสภาวะ แวดล้อม (Context Evaluation) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่าง เข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในด้านความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ ของโครงการกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ความสอดคล้องกับความต้องการและสนใจ การให้ความสาคัญ การให้ การสนับสนุนตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อประเมินความ พร้อมในด้านปัจจัยนาเข้า (Input Evaluation) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและ พัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในด้านบุคลากร ด้านการวาง แผนการดาเนินงาน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านสถานที่ และด้านงบประมาณ 3) เ พื่ อ ป ร ะ เ มิ น ค ว า ม เหมาะสมในด้านกระบวนการดาเนินงาน (Process Evaluation)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียม ความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในด้านการ สร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านการปฏิบัติตามแผนการดาเนินงาน การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค และ การปรับปรุงการดาเนินงาน และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในด้านผลสาเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และด้าน นวัตกรรม (Best Practice) ของครูผู้ช่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการ ดาเนินงาน จานวน 12 คน วิทยากรพี่เลี้ยง จานวน 12 คน และครูผู้ช่วย จานวน 108 คน ทั้งสิ้น จานวน 132 คน กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ R.V. Krejcie และ D.W. Morgan (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 96) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมิน จานวน 4 ฉบับ และแบบบันทึกรายชื่อนวัตกรรม (Best Practice) ของครูผู้ช่วย ได้ค่า ความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ดังนี้ ฉบับที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม เท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 2 ด้านปัจจัย นาเข้า เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการ เท่ากับ 0.94 และฉบับที่ 4 ด้านผลผลิต เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมในการดาเนินงานโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า มีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของหน่วยงานที่
ข
เกี่ยวข้อง ความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ความสอดคล้องกับ ความต้องการและสนใจ การให้ความสาคัญ การให้การสนับสนุนตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนาเข้าในการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความ พร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า มีความพร้อม ในด้านบุคลากร ด้านการวางแผนการดาเนินงาน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านสถานที่ และด้าน งบประมาณ มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความ พร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า มีความ เหมาะสมในด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านการปฏิบัติตามแผนการดาเนินงาน การแก้ไข ปัญหาและอุปสรรค และการปรับปรุงการดาเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ เป็นที่น่าพอใจ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินผลผลิตในด้านผลสาเร็จตามเป้าหมายของโครงการอบรมเชิง
ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า ประสบความสาเร็จตามเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ 4.2 ผลการประเมินผลผลิตในด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องพบว่ามีความ
พึงพอใจในการดาเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่ น่าพอใจ
4.3 ผลงานนวัตกรรม (Best Practice) ของครูผู้ช่วย พบว่า ครูผู้ช่วยที่มีอายุ ราชการ 1 ปีขึ้นไป ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จานวน 77 คน มีผลงานนวัตกรรม (Best Practice) จานวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 92.22