ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ
ผู้วิจัย นางวรลักษณ์ สายเชื้อ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียนสตรีสิริเกศ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3,047 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 45 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพ 3) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) แบบประเมินความพึงพอใจเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.60 - 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.05/87.50 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2) เพื่อเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการ SMT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( ))เท่ากับ 4.60 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด