สมัยก่อนคนเราเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด แต่สมัยปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้าและมีการแข่งขันสูงขึ้น ปรัชญาในการเรียนรู้จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป นักปราชญ์ในอดีตได้มีการอภิปรายโต้แย้งเรื่องการเรียนรู้มาเป็นเวลานานนับตั้งแต่กรีกมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงสุดเรื่อยมาจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 และ 20 การถกเถียงในเรื่องนี้ก็ยังไม่สิ้นสุด แต่ก็เริ่มมีแนวคิดที่ชัดเจนขึ้น ในขณะที่โลกมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ก็ยังคงดำเนินต่อไป นักการศึกษาต้องนำคำว่า การเรียนรู้ (Learning) มาให้คำจำกัดความใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในศตวรรษที่ 20 นั้น แนวคิดเรื่องการเรียนรู้ที่นักการศึกษานำมาอภิปรายโต้แย้งกันส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่แนวคิดของนักจิตวิทยา 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมนิยม (Behaviorist learning) ซึ่งเชื่อว่า โลกของเรามีความรู้อยู่มากมาย แต่ความรู้ที่สามารถถ่ายโยงมายังผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรมมีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองนักจิตวิทยาในกลุ่มที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดได้แก่ สกินเนอร์ (Skinner) กับ กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญานิยม (Cognitive learning theory) ซึ่งเชื่อว่า ความรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะ (particular structure) กับสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (psychological environment) ของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนโลกภายในของตน โดยอาศัยกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากการรับความรู้ใหม่เข้าไปในสมอง หรือจากการปรับเปลี่ยนความรู้เก่าให้เข้ากับความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับแนวคิดมากที่สุดได้แก่
เพียเจท์ (Piaget)
แม้ว่าแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการจัดการศึกษาในยุคนั้น แต่นักการศึกษาที่เข้าใจแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญานิยมก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 2000 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ทศวรรษต่อไปเป็น ทศวรรษของสมองและทศวรรษของการศึกษา (The decade of brain and the decade of education) ผลจากการค้นคว้าวิจัยเรื่องสมองทำให้นักการศึกษารู้ว่า สมองมนุษย์มีลักษณะเฉพาะที่เป็นของตนเอง สมองเป็นแหล่งของพฤติกรรม และเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุดในโลกหรือบางทีอาจจะในกาแลกซี่ของเราก็ได้ สมองของคนเราสามารถรับความรู้ที่เกิดจากการศึกษาได้ทุกอย่าง (receive all education) แต่เนื่องจากคนเรามีสไตล์การเรียนรู้ (Learning style) ที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปด้วย นอกจากการค้นคว้าเรื่องสมองแล้วสหรัฐอเมริกายังมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อดูแนวโน้มและวิสัยทัศน์ของหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างมีทั้งที่เป็นนักธุรกิจระดับชาติ ผู้นำทางการศึกษาและตัวแทนจากรัฐบาล ประมาณ 150 คน โครงการนี้ใช้เทคนิค Delphi ในการศึกษาและใช้ระยะเวลา 3 ปี รายงานส่วนหนึ่งของวิลสัน (Wilson, 1991) สรุปได้ว่า การเตรียมนักเรียนให้พร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จำเป็นต้องปลูกฝังนักเรียนให้มีทักษะการคิดแบบวิจารณญาณและทักษะในการตัดสินใจ นักเรียนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถปรับแปลงข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้ โดยนักเรียนเหล่านี้ต้องมีลักษณะกล้าเสี่ยงเป็นนักสำรวจและเป็นนักคิดที่รู้จักให้ความร่วมมือกับผู้อื่น รวมทั้งต้องมีการบูรณาการหลักสูตรเพื่อให้เกิดกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisplinary activity) ด้วย
ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา มีทฤษฎีการเรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายทฤษฎีแต่ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันมากได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist learning theory) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดคือเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่รับเข้ามาใหม่ด้วยเหตุนี้ ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ควรเป็นห้องเรียนที่ครูเป็นผู้จัดการทุกสิ่งทุกอย่าง โดยนักเรียนเป็นฝ่ายรับ (Passive learning) แต่ต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง สร้างความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเองและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น (Active learning) รูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดจากแนวคิดนี้มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning) การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) เป็นต้น สำหรับบทความนี้ผู้เขียนจะขยายความเฉพาะรูปแบบ
การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน เท่านั้น
สภาพพื้นฐานในการเรียนการสอนที่เป็นจริงหรือสิ่งต่างๆ ที่ส่งเข้าไปให้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเกิดความเกี่ยวข้องกับนักเรียนเอง ครูผู้สอนและบริบทแวดล้อมอื่นๆ ก็ได้ หากสภาพพื้นฐานในการเรียนการสอนที่เป็นจริงไม่เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็นแล้ว จะก่อให้เกิดปัญหาในระดับปัจจัยได้ เช่น สื่อ อุปกรณ์การเรียน สถานที่ ความรู้ของครู เวลาเรียน ฯลฯ เป็นปัญหาที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างเป้าหมายกับสภาพจริงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีความต้องการที่พัฒนาหรือยกระดับความแตกต่างนั้น เช่น ผลการเรียนวิชาต่างๆ ของปัจจุบันไม่ต่างกับเป้าหมายมากนัก แต่ครูต้องการยกระดับผลการเรียนให้สูงขึ้นอีก จึงกำหนดเป้าหมายให้สูงขึ้นอีกเพื่อพัฒนาผลการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นเรื่อยๆ สภาพการจัดการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อาจเป็นแนวการสอน วิธีการสอนหรือเทคนิควิธีการสอนของครูหากไม่สามารถดำเนินการจัดการให้บรรลุตามแนวการสอน วิธีการสอนหรือเทคนิควิธีแล้วก็จะก่อให้เกิดปัญหาในระดับกระบวนการ ผลสำเร็จภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นการจัดการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ คุณภาพนักเรียน โดยคาดหวังให้นักเรียนมีคุณลักษณะต่างๆ เกิดขึ้นในตัวนักเรียนหากไม่เป็นตามที่คาดหวังของคุณลักษณะต่างๆ แสดงถึงว่าเกิดปัญหาในระดับนี้แล้ว
ปัญหาหรือข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอนจะเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยอย่างกว้างๆ เหมือนกับคนหนุ่มสาวที่จะตัดสินในเลือกคู่ครอง ก็มักจะมองในส่วนกว้างๆของคนรัก แต่เมื่อต้องตัดสินใจเลือกเพียงคนเดียวก็จะเริ่มพิจารณาให้แคบลงจนกระทั่งได้คนรักเพียงคนเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกันกับปัญหาหรือข้อสงสัยของครูก็ต้องทำให้ปัญหาหรือข้อสงสัยนั้นแคบลงมา จนเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่สำคัญ หรือเร่งด่วนเพียงเรื่องเดียวที่เป็นปัญหาแท้จริง ซึ่งปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนครูไม่สามารถนำปัญหาทั้งหมดมาแก้ไข หรือพัฒนาทั้งหมดได้ การที่จะเลือกปัญหาใดมาปรับปรุงแก้ไขก่อนหรือหลังนั้น ต้องพิจารณาจากความสำคัญ ความร้ายแรง ความบ่อยของปัญหานั้นมากน้อยเพียงใด กระทบกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด ปัญหามีความสำคัญอย่างไร เช่น นักเรียนไม่สามารถอ่านหนังสือได้และมีผลส่งให้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ตามมาด้วย ปัญหานี้จึงควรได้รับการแก้ไขก่อน เนื่องจากหากปล่อยไว้จะกระทบและสร้างความเสียหายต่อการเรียนต่อไปได้
1. ปัจจัย หมายถึง วัสดุ สื่อ อุปกรณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อม เวลา บุคลากร และทรัพยากรอื่น ๆ ที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. กระบวนการ หมายถึง วิธีการ แนวโน้ม กิจกรรม กลวิธีหรือเทคนิคอันเป็นขั้นตอนที่ใช้ทำงานให้เกิดผลผลิต
3. ผลผลิต หมายถึง ผลสุดท้ายที่เกิดจากการปฏิบัติงานหรือโครงการต่าง ๆ
4. ผลกระทบ หมายถึง ผลต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากผลผลิต หรือมีการนำผลผลิตไปใช้ แล้วได้ผลอื่นตามมา
ตัวอย่าง
1. ครูไม่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2. นักเรียนไม่สามารถนำความรู้จากการเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. นักเรียนขาดความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
4. บรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน
5. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยทุกรายวิชาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
6. นักเรียนที่มีผลการเรียนที่ตกต่ำแล้วไม่ติดตามแก้ไขผลการเรียนของตนเอง
7. ครู อาจารย์ขาดขวัญกำลังใจและสอนนักเรียนไม่เต็มความสามารถ
8. ขาดนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนในการพัฒนาการสอนของครู
ผู้วิจัยจึงได้ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการเรียนในชั้นเรียนเพื่อลดปัญหาทางการศึกษาที่เกิดขึ้น และยกระดับการเรียนการสอนให้ดีขึ้นต่อไป