บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งระบบ
โดย : นายขวัญเรือน แสบงบาล
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
ปีที่ทำการวิจัย : พ.ศ. 2562 จำนวน 418 หน้า
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีต่อการใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ก่อนและหลังการได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 4 ) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาก่อนและหลังการได้รับ การนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของครูผู้สอน ก่อนและหลังการได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) เพื่อเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจของครูผู้สอนก่อนและหลังการได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 7) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา หลังการได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 8) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนในด้านการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน และคุณภาพนักเรียน หลังการได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 9) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีต่อโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
การวิจัยนี้ดำเนินการในปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 7 โรงเรียนที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยประกาศรับสมัครโรงเรียน และคัดเลือกโรงเรียนจากอำเภอทั้ง 4 อำเภอ อำเภอละ 1 โรงเรียน โดยพิจารณาจากขนาดโรงเรียนจำนวนครูผู้สอนและความมุ่งมั่นของผู้บริหารโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเก็บข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียน 7 คน ครูผู้สอนทุกคน รวม 58 คน นักเรียนทุกคนรวม 850 คนและผู้ปกครองนักเรียนรวม 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1) คู่มือปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบทดสอบสอบความรู้การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา แบบประเมินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา แบบประเมินคุณภาพคู่มือปฏิบัติการแบบประเมินพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ แบบสอบถามขวัญและกำลังใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Match - paired t-test และการบรรยายผลการประเมินเชิงคุณภาพ
ดำเนินการพัฒนาโดยการประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบ นิเทศโรงเรียนเพื่อทำความเข้าใจและร่วมวางแผนในการดำเนินงานตามโครงการวิจัย ดำเนินการพัฒนาโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม และรูปแบบการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ที่เกิดจากการระดมสมองในการพัฒนาองค์กร (Appreciation Influence Control : AIC) ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนทุกคน ประธานคณะกรรมการ สถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 4 ครั้ง และนิเทศติดตาม โดยบุคลากรกลุ่มดังกล่าว ได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนาของโรงเรียน กำหนดเป้าหมายของการพัฒนา ร่วมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมประเมินผล ให้ข้อเสนอแนะ และรับทราบผลการประเมินในการจัดการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า : -
1. คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นคู่มือที่มีคุณภาพทั้ง 6 เล่ม ได้ผ่านการตรวจแก้ไข ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
2. คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสม มีคุณภาพและมีประโยชน์ในระดับมาก จากการประเมินของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่นำไปใช้ ทั้ง 6 เล่ม ได้แก่ 1) การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) สภาพที่เป็นจริงของสถานศึกษา 3) มาตรฐานการศึกษา 4) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษา 5) วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 6) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี
3. ความรู้การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน หลังได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ และใช้คู่มือปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา หลังได้รับการนิเทศ และใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ และใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
5.พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของครูผู้สอน หลังได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับปฏิบัติค่อนข้างบ่อย และสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 9 ด้าน
6. ครูผู้สอนมีขวัญและกำลังใจในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา หลังได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยรวมในระดับเห็นด้วยและสูงกว่า ก่อนได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. มาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนของนักเรียนทั้ง 7 โรงเรียน หลังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยสรุปอยู่ในคุณภาพระดับดี
8. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโรงเรียนในด้านการบริหารจัดการจัดการเรียนการสอน และคุณภาพนักเรียน หลังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนได้รับการนิเทศและใช้คู่มือปฏิบัติการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวม และรายด้านทั้ง 3 ด้าน
9. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีความพึงพอใจต่อโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยรวมในระดับมาก