การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านท่านา ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ตามความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู เกี่ยวกับความสอดคล้อง และความเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายต้นสังกัดของกิจกรรมในโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรที่ใช้ ในการประเมินโครงการประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และวิธีบริหารโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล และการประชาสัมพันธ์สู่ชุมชน 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation ) เกี่ยวกับ ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการและเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการและผลที่ได้ จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การประเมินใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (Cipp Model) แหล่งข้อมูลที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ชุด และใช้สถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ )
ผลการประเมินพบว่า
1.ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริม คุณธรรม
จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านท่านา ปีการศึกษา 2563 ประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู เกี่ยวกับความเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายต้นสังกัดของกิจกรรมในโครงการ พบว่า ระดับการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อเมื่อเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์ของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินผ่านเกณฑ์
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านท่านา ปีการศึกษา 2563 ประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู เกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และวิธีบริหารโครงการ พบว่า ระดับการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ บุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านท่านา ปีการศึกษา 2563 ประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู เกี่ยวกับความเหมาะสมที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล และการประชาสัมพันธ์สู่ชุมชน พบว่า ระดับการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือมีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดผลการประเมินผ่านเกณฑ์
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านท่านา ปีการศึกษา 2563 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน เกี่ยวกับความเหมาะสมของผลการดำเนินโครงการ พบว่า ระดับการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์