การพัฒนารูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562
THE DEVELOPMENT OF PARTICIPATORY MANAGEMENT FACTORS TO
PROMOTE AND MOTIVATE TEACHERS PERFORMANCE TO THE STANDARD
OF BASIC EDUCATION BANPHUDIN SCHOOL ACADEMIC YEAR 2019
สันติภพ โชติขันธ์
Santiphob Chotikhan
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบปัจจัยการบริหาร แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของครู สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงาน จากการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ ที่เกิดจากรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ก่อนและหลังการวิจัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนบ้านภูดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2562 โดยวิธีการคัดเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูปฏิบัติการ และครูอัตราจ้าง จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และผู้ปกครองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงาน จากการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจที่เกิดจากรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. การวิเคราะห์รูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบ มีส่วนร่วมทั้ง 7 ด้าน ทำให้ครูมีแรงกระตุ้นมีแรงขับเคลื่อน มีพลังที่ทำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมาย สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผลการวิเคราะห์ พบว่า รูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.67 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อยสามลำดับ ได้แก่ ด้านร่วมกันวางแผน ( = 4.70 S.D. = 0.32 ) รองลงมาด้านการร่วมกันตัดสินใจ ( = 4.69 S.D. = 0.41 ) และด้านการร่วมมือความรับผิดชอบ ( = 4.69 S.D. = 0.42 )
ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า รูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูมีแรงกระตุ้นมีแรงขับเคลื่อน มีพลัง ที่ทำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมาย เกิดการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงานจากการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจที่เกิดจากรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ก่อนและหลังการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงาน จากการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ ที่เกิดจากรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ก่อนการวิจัย มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.81 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.20 และหลังการวิจัย มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.73 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.28
นั่นแสดงว่า ตลอดช่วงปีการศึกษา 2562 การปฏิบัติงานของครูจากการได้รับการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจ ที่เกิดจากรูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้วยองค์ประกอบ ทั้ง 3 ด้าน ทำให้ครูมีแรงกระตุ้น มีแรงขับเคลื่อน มีพลังที่ทำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลได้จริง และเกิดผลสำเร็จที่สะท้อนพัฒนาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลของการพัฒนาหลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดของรายการประเมิน เมื่อศึกษาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมาย สามารถอธิบายผลได้ดังนี้
3.1 ความพึงพอใจของครู ที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.82 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.22
3.2 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.78 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.26
3.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพการศึกษาที่บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.76 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.34
จะเห็นได้ว่าการพัฒนารูปแบบปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้บรรลุเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในครั้งนี้ เกิดภาพความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ครูเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสู่มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล บรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จริง ตอบสนองความต้องการ เกิดความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองอยู่ในระดับ
มากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3