การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
พัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2561
A STUDY OF COMPONENTS OF PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
MANAGEMENT (PLC) DEVELOP TEACHER COMPETENCY TOWARDS PUDINMODEL
THAT AFFECTS THE LEVEL OF QUALITY OF LEARNERS THAI LANGUAGE
AT BANPHUDIN SCHOOL ACADEMIC YEAR 2018
นายสันติภพ โชติขันธ์
Santiphob Chotikhan
บทคัดย่อ
การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงานตาม PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนบ้านภูดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2561 โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือครูปฏิบัติการ และครูอัตราจ้าง จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คนและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ในองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูต่อการพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงานตาม PUDIN MODELที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย
สรุปผลการศึกษา
1. การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมขององค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้ง 6 ด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย และผลการวิเคราะห์ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ทำให้การบริหารสถานศึกษาเกิดการพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL และมีผลต่อการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.61 .และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ถึงมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ( = 4.70 S.D. = 0.40 ) รองลงมาด้านชุมชนกัลยาณมิตร ( = 4.68 S.D. = 0.41 ) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ( = 4.46
S.D.= 0.50) เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของผู้บริหาร เป็นการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถ ทำให้ครูมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงขึ้นจริง
2. การวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูต่อการพัฒนาสมรรถนะครู สู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย พบว่า ความคิดเห็นของครูต่อการพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย ในภาพรวมของสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ภาพรวม 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ย ( ) ด้านที่มากที่สุด คือ ด้านสมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 5.00 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) รองลงมา คือ ด้านสมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) 4.67 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 0.33 ด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย ( ) 4.50 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 0.50 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาสมรรถนะครู แสดงให้เห็นว่า ครูมีขีดสมรรถนะด้านพฤติกรรมทักษะ และจิตพิสัย ในการนำความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติงานไปสู่ PUDIN MODEL ได้เต็มศักยภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ด้านภาษาไทย
3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในการปฏิบัติงานตาม PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย ก่อนและหลังการศึกษา พบว่า ก่อนการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.76 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.09 และหลังการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.71 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.17 นั่นแสดงว่า ตลอดช่วงปีการศึกษา 2561 ครูมีการปฏิบัติงานตามแบบ PUDIN MODEL เกิดผลการพัฒนาผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินผลได้จริงซึ่งจะเห็นได้จากครูมีระดับการปฏิบัติงานตาม PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย พบว่า ความพึงพอใจของครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และเมื่อศึกษาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมาย สามารถอธิบายผลได้ ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครู ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทยอยู่ในระดับพอใจ
มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.85 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.20 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจ ในทุกข้อ พบว่า ครู มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4.2 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทยอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.85 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.23 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกข้อ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทยอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.73 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.39 และเมื่อวิเคราะห์ผล ความพึงพอใจในทุกข้อ พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าการศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่ PUDIN MODEL ที่มีผลต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนบ้านภูดิน ปีการศึกษา 2561 แสดงถึงผลสำเร็จของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการอ่าน การเขียน ได้จริง และตอบสนองความต้องการ เกิดความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4