การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม
เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพ
ภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โรงเรียนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562
EDUCATION TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP THAT AFFECT
PARTICIPATORY MANAGEMENT TO PROMOTE TEACHER
EOMPETENCY IN LEARNING MANAGEMENT TO BE A QUALITY
SCHOOL UNDER THE CONTEXT OF BAN FANG SUBDISTRICT BAN
FANG SCHOOL ACADEMIC YEAR 2019
นายวินัย โพธิ์หมุด
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โรงเรียนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โรงเรียนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา โดยวิธีคัดเลือก
แบบเจาะจง โดยแยกกลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 และนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 68 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 และนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 68 คน และคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษา 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง และ4) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
สรุปผลการศึกษา
1. การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โรงเรียนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 S.D = .44) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ข้อ 2 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีระดับภาวะผู้นำระดับมากที่สุด ( = 4.66 S.D = .45) ซึ่งข้อ 4 ด้านการคำนึงปัจเจกบุคคล มีระดับภาวะผู้นำระดับมาก ( = 4.43 S.D = .49) และลำดับน้อยที่สุด คือ ข้อ 1 ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีระดับภาวะผู้นำระดับมาก
( = 4.28 S.D = .40) ตามลำดับ นั่นแสดงว่า ครู มีการรับรู้และเข้าใจในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
1.1 ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม
เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28 S.D.=.40)
1.2 ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66 S.D.= .45)
1.3 ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.33 S.D.=.44)
1.4 ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านความเป็นปัจเจกบุคคล พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ด้านความเป็นปัจเจกบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 S.D.= .49)
2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ( = 4.49 S.D.= .46) เรียงลำดับ
จากมากไปหาน้อย คือ ข้อ 2 ด้านความไว้วางใจกันมีระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับมากที่สุด ( = 4.67 S.D.= .44) ซึ่งเท่ากันกับข้อ 3 การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและร่วมรับผิดชอบดำเนินการ
มีระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับมากที่สุด ( = 4.67 S.D.= .44) และลำดับน้อยที่สุด คือ ข้อการกระจายอำนาจและการให้อำนาจในการตัดสินใจมีระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับมาก ( = 4.33 S.D = .44) ตามลำดับ นั้นแสดงว่า ครูมีความรู้ เข้าใจ รับรู้และปฏิบัติงานสูงขึ้น สอดคล้องไปทิศทางเดียวกันเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
2.1 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปีการศึกษา 2562 ด้านการกระจายอำนาจและให้อำนาจในการตัดสินใจ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.33 S.D.=.44) นั่นแสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วมทำให้ครูมีความรู้ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
2.2 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านความไว้วางใจ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67 S.D.=.44 ) นั่นแสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วมทำให้ครูมีความรู้ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
2.3 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและร่วมรับผิดชอบดำเนินการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 S.D.=.44)
นั่นแสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วมทำให้ครูมีความรู้ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบท
ตำบลบ้านฝาง
2.4 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านความเป็นอิสระที่จะรับผิดชอบและสามารถดูแลตนเองได้ พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =4.33 S.D.=.44) นั่นแสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูมีความรู้ ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
2.5 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =4.44 S.D.=.49) นั่นแสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูมีความรู้ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
2.6 ระดับการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการได้ทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ทำให้การตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ พบว่า
อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56 S.D.=.49) แสดงว่า ครูมีความคิดเห็นที่เกิดจากการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูมีความรู้ทักษะจิตพิสัยมีการปฏิบัติงานเพิ่มขีดความสามารถสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ สู่เป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง
3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง พบว่า ความคิดเห็นของครูที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะครู ในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ในภาพรวม ก่อนการศึกษามีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.38 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) .44 และมีค่าเฉลี่ย ( ) หลังการศึกษา เท่ากับ 4.61 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .46 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของก่อนการศึกษาและหลังการศึกษา พบว่า หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา นั่นแสดงว่า ความคิดเห็นของครูที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4 และ เมื่อศึกษาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมายแยกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้
4.1 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพ อยู่ในระดับพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.42 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ .46 และเมื่อวิเคราะห์ผล ความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากในทุกด้าน
4.2 ระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดค่าเป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพ อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.67 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ .40 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า ครู มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ในทุกด้าน
4.3 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดค่าเป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพ อยู่ในระดับพอใจมากมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.42
มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ .47 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในระดับมากในทุกด้าน
4.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายความสำเร็จโรงเรียนคุณภาพ อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.39 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ .39 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากในทุกด้าน