บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวนาคำโนนสมบัติ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวนาคำ
โนนสมบัติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวนาคำโนนสมบัติ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะโดยใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ โรงเรียนบ้าน
หัวนาคำโนนสมบัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ จำนวน 7 คน นักเรียนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการในการจัดกิจกรรมเสริมสร้าง
จิตสาธารณะ 2) คู่มือการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนตามรูปแบบ
3) แบบวัดจิตสาธารณะของนักเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้ 5) แบบบันทึกพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียน 6) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียน 7) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
8) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ใช้ Dependent t-test ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จากการสัมภาษณ์ครูผู้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสดงออก
ด้านจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ ยังมีปัญหาและความต้องการ
ที่จะได้รับการพัฒนาคุณลักษณะด้านการมีจิตสาธารณะที่เป็นพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ในด้านการช่วยเหลือผู้อื่นและด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน และสังคมเพิ่มขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมที่หลากหลายและเหมาะสมผ่านกระบวนการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี
ที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ในการจัดทำร่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะที่พึงประสงค์ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ
5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 4) บทบาท
ของครู บทบาทของนักเรียน 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งด้านองค์ประกอบกระบวนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำ 2) ขั้นมีส่วนร่วม 3) ขั้นการวิเคราะห์ 4) ขั้นสรุปและประยุกต์หลักการ 5) ขั้นประเมินผล
2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้าง
จิตสาธารณะ พบว่า นักเรียนมีความใส่ใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรม
ด้านจิตสาธารณะผ่านการเขียนรายงานตนเอง ที่แสดงถึงพฤติกรรมการปฏิบัติด้านจิตสาธารณะที่ชัดเจน
ผลการประเมินจิตสาธารณะของผู้เรียนโดยครูผู้สอนภายหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะโดยรวมในระดับสูง รวมทั้งผลการสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพและความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมตามการรับรู้ของครู พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีความเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลได้ ผลการสะท้อนความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบ พบว่า กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในรูปแบบมีความเหมาะสม สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นได้
3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจิตสาธารณะด้านการช่วยเหลือผู้อื่นและด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม หลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05