ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย นางเพ็ญศรี กัลยาณกิตติ
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ยืนยันผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่มหลายชั้น (Multi-stage Cluster Sampling) ครูผู้สอนภาษาไทยจำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ได้แก่ รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ตามรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระยะที่ 3 การศึกษาผลการยืนยันการขยายผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนจำนวน 150 คน ครูผู้สอน จำนวน 6 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1)แนวคิดและทฤษฎีของ รูปแบบการสอน 2)จุดมุ่งหมายของรูปแบบการสอน 3)สาระการเรียนรู้ 4)ขั้นตอนการสอน และ 5)การวัดและประเมินผล
2. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ 1) จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนความคิด สร้างสรรค์ร้อยละ 65 พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 65 ทุกคน 2) คะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
3. ผลการยืนยันผลการขยายผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 1) นักเรียนจำนวน 150 คน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 ทุกคน 2) คะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 150 คน ที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงรุกเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก