รายงานการประเมินโครงการ
ชื่อเรื่อง โครงการพัฒนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียน
โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผู้รายงาน นางวิไลลักษณ์ ศรีทากุล
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ดาเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กาหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะไว้ดังนี้ 1.วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อตัดสินคุณค่าของโครงการพัฒนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2.วัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context) 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (IEST) ที่เกิดจากโครงการ เกี่ยวกับ (1) การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) (2) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) (3) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation ) (4) การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation ) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และผสมผสานด้วยวิธีเชิงธรรมชาติหรือNV Models (Naturalistic ValueOriented Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ครูผู้สอน จานวน 49 คน นักเรียน จานวน 123 คน ผู้ปกครอง จานวน 123 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 9 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการประเมินบริบทโครงการ อยู่ในระดับมาก 2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ อยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินกระบวนการดาเนินกิจกรรมของโครงการอยู่ในระดับ มาก 4. ผลการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ อยู่ในระดับ มาก และมีผลการประเมินในแต่ละตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลกระทบของโครงการพัฒนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนดีขึ้น ฝ่ายวิชาการโรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนานักเรียนและครู ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญได้ชัดเจน มีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น ผู้บริหารได้แนวคิดใหม่ๆในการพัฒนาการจัดการศึกษา ชุมชนและผู้ปกครองให้ความสาคัญต่อการศึกษามากขึ้นและมีความไว้วางใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
4.2 ประสิทธิผลของโครงการ นักเรียนมีความสามารถในการคิด การเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาในสิ่งต่างๆดีขึ้น แสดงผลจาก 1) ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของนักเรียนโรงเรียนบ้าน สิริขุนหาญ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ ดี 2) ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อคุณภาพของนักเรียนตามการประเมินสมรรถนะสาคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อยู่ในระดับ มาก
3) ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดีเลิศ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับ มาก 4.3 ความยั่งยืนของโครงการ 1) ผลการนาความรู้ไปใช้ในการเรียนและพัฒนาตนเองของนักเรียนตามโครงการ อยู่ใน ระดับมาก 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่า โดยวิธีเชิงธรรมชาติพบว่าครูผู้สอนเกิดความมุ่งมั่นและแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองและพัฒนานักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด เกิดการเรียนรู้ คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาเป็น
4.4 การถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ ครูเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนและการจัดกิจกรรมใหม่ๆที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียน
5. การสังเคราะห์การตัดสินคุณค่าของโครงการ
ผลการดาเนินงานหลังดาเนินโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมากโดยด้านบริบทของโครงการ มีความจาเป็นเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความเพียงพอต่อการดาเนินกิจกรรม ด้านกระบวนการบรรลุตามวัตถุประสงค์ และในด้านผลลัพธ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
สรุปผลการดาเนินการตามโครงการพัฒนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ทั้ง 4 ประเด็น คือ สภาพบริบทของโครงการ ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ กระบวนการดาเนินโครงการ และประเด็นผลลัพธ์ของโครงการ โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก