การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการที่จำเป็นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 คน และสอบถามความคิดเห็นของนักชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เรียนจำนวน 64 คนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 45 คนที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยวิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ 3)แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพความต้องการของนักเรียน ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าต้องการให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง สื่อการเรียนรู้เป็น ใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน และแบบทดสอบ มีการวัดผลโดยการใช้การทดสอบ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2)วัตถุประสงค์ 3)ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4) เนื้อหา 5) การประเมินผล
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ เรื่องสารละลาย ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 85.63/83.91
ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่องสารละลาย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง
สารละลาย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05
3. ผลทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสารละลาย ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนกิจกรรม ครูมีบทบาทหน้าที่ในการให้คำแนะนำปรึกษา นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุก ทำกิจกรรมตาม ใบงาน ได้อย่างถูกต้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผลการเรียนรู้ เรื่องสารละลาย ด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการ โพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวนนักเรียน 45 คนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.46 และคิดเป็นร้อยละ 77.33 สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสารละลาย มีประสิทธิภาพของกระบวนการ 80.50 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สารละลาย มีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 79.26
4. ผลประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสงเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก