การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ
การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางปาลิกา ชื่นฤทัย
ปีที่ทำวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม เรื่อง ความ
ต้องการด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
คิดเชื่อมโยง จำนวน 25 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง จำนวน 7 ประเด็นคำถาม
2. เพื่อสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน
และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) คู่มือการใช้รูปแบบ
การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง
เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นข้อสอบแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบอัตนัย จ านวน 4 ข้อ
3. เพื่อทดลองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการสอน
คณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง
เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะในการคิดเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ
4. เพื่อความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดเชื่อมโยง พบว่า 1.1 การสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชื่อมโยง
พบว่า เรื่องที่จะนำมาพัฒนารูปแบบ คือ เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านหลักการ
องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ และองค์ประกอบด้านกระบวนการ องค์ประกอบด้านกระบวนการมี 5
ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นแบ่งกลุ่ม (Separating) ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้เนื้อหา (Learning) ขั้นที่ 3 ขั้นศึกษา
หาค าตอบ (Training) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ (Testing) และขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลหรือ
ชมเชย (Prizing) 1.2 ความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยงโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 การวิเคราะห์
ผลการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
การคิดเชื่อมโยง พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบการสอน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 2.1 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎี
การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก
การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมี 4 องค์ประกอบ
คือ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านระบบสังคม โดย
องค์ประกอบด้านกระบวนการ มี 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นแบ่งกลุ่ม (Separating) ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้
เนื้อหา (Learning) ขั้นที่ 3 ขั้นศึกษาหาคำตอบ (Training) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ
(Testing) และขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลหรือชมเชย (Prizing) การประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบ
การสอนคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2 ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้
และคู่มือการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม และรายข้อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.3 ประสิทธิภาพ
ของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการทดลองใช้ครั้งที่ 3 มีค่าเท่ากับ 75.60/75.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
ค่าประสิทธิภาพที่ก าหนดไว้คือ 75/75
3. ผลการทดลองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 79.29/78.82 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน
และการบวก การลบ การคูณ การหาร ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน
คณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง
เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน
และการบวก การลบ การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก