ผู้วิจัย พีรศิษฐ์ เผ่าต๊ะใจ
สถานที่วิจัย โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) เป็นโรงเรียนขนาดกลาง รูปแบบการบริหารที่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการ คือ รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้เข้ามาส่วนคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ผูกมัดและตกลงใจร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “PHIRASIT Model” โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหารงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีความเหมาะสมขององค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.51)
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังใช้สูงกว่าก่อนใช้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PHIRASIT Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56)