วิจัยเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นางสาววรรณภา หล้าหิบ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ 2.2 ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2.3 ศึกษาความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลพรเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ภายในชั้นเรียนเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ใช้เวลาดำเนินการ จำนวน 12 ชั่วโมง ไม่นับรวมทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยทดลองสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง รูปแบบที่ใช้ในการทดลอง คือ One Group Pre-test Post- test Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อทดสอบแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ( %) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t - test แบบ Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/87.40 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 85.17 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป
2.3 ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก ( x̄=4.06 S.D. = 0.66)