บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
-----------------------------
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านบริบท 2) ประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกระบวนการ และ 4) ประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 63 คน และนักเรียน จำนวน 292 คน รวมทั้งสิ้น 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านบริบท ครูมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.61)
2. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านปัจจัยเบื้องต้น ครูมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = 0.63)
3. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกระบวนการ ครูและนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.10, S.D. = 0.67)
4. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านผลผลิต ครูและนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.59)
บทนำ
ประชากรโลกมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพลังงานของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเกิดผลกระทบในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพลังงานของมนุษย์ คือสภาพอากาศและสภาวะแวดล้อม (Environmental impacts) ที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อน (Global warming) จึงเป็นปัญหาที่ควบคู่กับการใช้พลังงานมาโดยตลอด ในปัจจุบันพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้มถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น) กลับเพิ่มขึ้นมาแทนเป็นลำดับ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มาอำนวยความสะดวกมนุษย์มากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ (กวิน ทิพย์. 2556)
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานในระดับโลกและระดับภูมิภาค ที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งมีผลต่อต่อสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมในประเทศไทย (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2561 : 279)วิกฤติการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทั้งมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย สารพิษในดินการทำลายที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ และการสูญเสียความหลากหลายในระบบนิเวศ (Diamond. n.d. ; อ้างถึงใน ไสว บุญมา. 2550 : 213) มีสาเหตุมาจากทัศนคติและการกระทำที่ไม่ถูกต้องของคนต่อสิ่งแวดล้อม โดยนักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่าการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต้องแก้ที่ทัศนคติของคนต่อสิ่งแวดล้อม (คงศักดิ์ ธาตุทอง. 2550 : 1) ทิศทางและนโยบายการบริหารประเทศ ภาครัฐให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านการกำหนดนโยบายและมาตรการสำคัญๆ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการขับเคลื่อนในการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนและดำเนินมาตรการด้านต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาและปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2561 : 279)
การประเมินโครงการที่ดีต้องเลือกทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาตามความต้องการของสถานศึกษา ขั้นแรกต้องเขียนโครงการก่อน ซึ่งปกติโครงการโดยทั่วไปจะประกอบด้วย (1) ชื่อโครงการ (2) หน่วยงานที่รับผิดชอบ (3) ระยะเวลาดำเนินโครงการ (4) หลักการและเหตุผล (5) วัตถุประสงค์ (6) เป้าหมาย (7) พื้นที่ดำเนินงาน (8) วิธีดำเนินงาน (9) ทรัพยากรและงบประมาณ (10) การติดตามประเมินผล (11) ผลที่คาดว่าจะได้รับ (12) ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และ (13) อื่นๆ (ถ้ามี) ซึ่งต้องศึกษาความหมายขององค์ประกอบและแนวทางการเขียนองค์ประกอบต่างๆของโครงการนั้น และการประเมินเมินโครงการต้องตัดสินใจประเมินโครงการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น 1) ประเมินตามรูปแบบ CIPP ของ Stufflebeam และคณะ ซึ่งมีการประเมิน 4 รายการ คือ (1.1) การประเมินสภาพแวดล้อมหรือการประเมินบริบท (Context Evaluation) (1.2) การประเมินปัจจัยหรือตัวป้อน (Input Evaluation) (1.3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (1.4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) 2) การประเมินตามรูปแบบ System Analysis ซึ่งมีการประเมิน 3 รายการคือ (2.1) การประเมินปัจจัยหรือตัวป้อน (Input Evaluation) (2.2) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (2.3) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) (โสภณ นุ่มทอง. 2556 : 3-4)
สภาพปัญหาของโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นสภาพที่แต่ละข้างของโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ในสภาพที่พลุกพล่าน เพราะมีถนนผ่านรอบโรงเรียน อีกทั้งมีริมคลองน้ำใกล้กับโรงเรียน ตลาดสด ทำให้สภาพแวดล้อมของโรงเรียนอยู่ในสภาวะที่ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หากมีการดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นคงทำให้การจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น โรงเรียนเทศบาลวัดสระทองจึงได้จัดทำโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมรักษ์โลก และอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2561 โดยได้ประเมินและติดตามผลโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ การประเมินโครงการดังกล่าวจะทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่จะใช้ในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการโครงการและเพื่อให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลไปพัฒนาโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ประเมินมีหน้าที่กำกับ ติดตาม ควบคุมดูแลโครงการดังกล่าว จึงมีความสนใจที่จะประเมินผลโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลกและอนุรักษ์พลังงาน นับตั้งแต่ดำเนินโครงการมา ว่าจะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้หรือไม่ มีปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานเพียงใด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและนักเรียน ในปีการศึกษา 2561 เพื่อประเมินโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลกและอนุรักษ์พลังงานในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ รูปแบบการประเมินของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1985 : 20) เรียกว่า CIPP Model ทั้งนี้ เพื่อรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการดำเนินโครงการดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนเป็นข้อสนเทศในการวางแผนงานและการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพในด้านการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1. เพื่อประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านบริบท
2. เพื่อประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านปัจจัยเบื้องต้น
3. เพื่อประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกระบวนการ
4. เพื่อประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านผลผลิต
วิธีการประเมิน
การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการประเมินโครงการ ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้จากการเปิดตาราง เครจซี่ และ มอร์แกน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 63 คน และนักเรียน จำนวน 292 คน รวมทั้งสิ้น 355 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามประเมินโครงการทั้ง 5 ด้าน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
จากการวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง ในด้าน บริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( =3.98, S.D. = 0.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านกระบวนการ ( =4.10, S.D. = 0.67) ด้านผลผลิต ( =4.09, S.D. = 0.59) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ( =3.83, S.D. = 0.63) และด้านบริบท ( =3.89, S.D. = 0.61) ตามลำดับ
2. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านบริบท ของครูโดยภาพรวม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ผู้บริหารให้ความรู้ความเข้าใจ และความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ( = 4.03, S.D. = 0.52) โรงเรียนมีการจัดทำแผนงานโครงการร่วมกับชุมชน ( = 3.94, S.D. = 0.60) และวัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ( = 3.89, S.D. = 0.59) ตามลำดับ
3. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านปัจจัยเบื้องต้น ของครูโดยภาพรวม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินโครงการเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ มีระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ( = 3.90, S.D. = 0.76) ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ ( = 3.95, S.D. = 0.65) และโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ( = 3.89, S.D. = 0.68) ตามลำดับ
4. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ของครูและนักเรียน โดยภาพรวม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการใช้สิ่งแวดล้อมของครู ( = 4.49, S.D. = 0.71) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการใช้สิ่งแวดล้อมของนักเรียน ( = 4.45, S.D. = 0.68) และจัดการเรียนโดยใช้สิ่งแวดล้อม บูรณาการกับทุกกลุ่มสาระและปฏิบัติได้จริง ( = 4.28, S.D. = 0.66) ตามลำดับ
5. การประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านผลผลิต ของครูและนักเรียน โดยภาพรวม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับพื้นที่ ( = 4.73, S.D. = 0.52) นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ( = 4.22, S.D. = 0.75)นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ( = 4.11, S.D. = 0.58)
ข้อเสนอแนะ
การประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินได้จำแนกข้อเสนอแนะไว้ 3 ลักษณะ คือ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ และ 3) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.1 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะถือได้ว่าเป็นโครงการหนึ่งที่ส่งเสริมให้เยาวชนได้รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และอนุรักษ์พลังงานภายในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
1.2 ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เพราะหากโรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้
1.3 ผู้บริหารควรจัดให้มีการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้รู้จักรักษ์โลก รักษ์พลังงานในโรงเรียนอย่างยั่งยืน
2. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
2.1 ผู้บริหารควรดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพราะว่าการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน และการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจ
2.2 ควรมีแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามการพัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เมื่อผลการดำเนินงานในด้านนี้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.3 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณสำหรับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โรงเรียนได้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อส่งผลให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2.4 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียน เช่น แสงสว่างภายในห้องเรียนให้เพียงพอ โต๊ะ เก้าอี้ ให้ครบตามจำนวนนักเรียน ที่เข้าเรียน
2.5 ควรจัดให้มีที่นั่งพักผ่อน ศาลาอเนกประสงค์ และสวนหย่อม ให้กับนักเรียนอย่างเพียงพอ เพื่อเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นการเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
3.1 ควรประเมินการพัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆ ที่สนองตอบต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อม
3.2 ควรประเมินการพัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาในเชิงปริมาณ เพื่อหาข้อเปรียบเทียบตามสมมติฐานที่ตั้งขึ้น สำหรับนำไปเป็นข้อสนเทศสำหรับการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อไป
3.3 ควรศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนอื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นข้อสนเทศสำหรับนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทำให้ทราบผลการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านบริบท
2. ทำให้ทราบผลการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านปัจจัยเบื้องต้น
3. ทำให้ทราบการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกระบวนการ
4. ทำให้ทราบผลการประเมินโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านผลผลิต
5. สถานศึกษาได้แนวทางในการจัดทำโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ไปใช้ในการจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่อไป
6. ผลการประเมินนำเป็นข้อสนเทศสำหรับโรงเรียนที่สนใจและหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการสร้างสรรค์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในด้านต่างๆ ต่อไป
----------------------------------------------