การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือทั้ง 4 ชนิด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งนี้จะแสดงรายเอียดของการดำเนินการสร้างเครื่องมือแต่ละชนิดนั้นไปโดยลำดับ ดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง ใช้เวลาสอน 12 ชั่วโมง มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง ดังนี้
1.1 ศึกษารายละเอียดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดงซ่อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 1 การอ่าน รวมถึงศึกษาเอกสารประกอบการใช้หลักสูตรเพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ภาษาไทย
1.2 ศึกษาเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ และ
การจัดการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL
1.3 ศึกษาและคัดเลือกบทอ่านให้ตรงกับตัวชี้วัดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หัวข้อการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอน การจัดการเรียนรู้ดังนี้
1.4.1 การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความ และการเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่
1.5 การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความและ การเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่
1.5.1 ชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้
1.5.2 ชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้และการบันทึกข้อมูลแบบฝึก KWDL
1.6 การจัดกิจกรรมฝึกความสามารถด้านการอ่านตอนมีขั้นตอน ดังนี้
3.2.1 นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที
3.2.2 ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้
1) นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที
2) ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้
2.1) กิจกรรมที่ 1 ขั้น K (What we know) คือ ครูสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่นักเรียนเคยรู้จัก ครูให้นักเรียน อ่านชื่อเรื่อง นิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น และตอบคำถาม กิจกรรมที่ 1 ฉันรู้
2.2) กิจกรรมที่ 2 ขั้น W (What we want toknow) คือ 1. อธิบายเรื่องการตั้งคำถาม การตอบคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้เกี่ยวกับ นิทานเรื่อง.......... ในกิจกรรมที่ 2 ฉันอยากรู้ โดยครูคอยช่วยเหลือแนะนำ และตั้งคำถามเพิ่มเติมร่วมกับนักเรียน เช่น ในเรื่องนี้มีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์สำคัญของเรื่องนี้มีอะไรบ้าง เหตุการณ์ตอนจบของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้คืออะไร ถ้านักเรียนเป็น.........นักเรียนควรทำอย่างไร
2.3) กิจกรรมที่ 3 ขั้น D (What we do to find out) คือ ครูให้นักเรียนอ่านแบบฝึกอ่าน จับเวลาในการอ่าน 15 นาที ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์ พร้อมความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ในกิจกรรมที่ 3 คำศัพท์แสนกล โดยครูชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือในการเปิดหาความหมาย
2.4) กิจกรรมที่ 4 ขั้น L (what we have Learned) คือ กระตุ้นให้นักเรียนบอกสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่านนิทานลงในแบบฝึก กิจกรรมที่ 4 ฉันเข้าใจ ให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนรู้แล้ว กับสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ที่ตั้งคำถามไว้ในขั้น W (What we want to know) ว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อหรือใม่ โดยครูยกตัวอย่างการตั้งคำถามก่อนอ่าน แบบฝึกอ่าน และหลังจากการอ่านแบบฝึกอ่านแล้วครูสามารถตอบคำถามของตนเองได้ ครูกระตุ้นให้นักเรียนจัดลำดับเนื้อหาที่ได้อ่านจากนิทาน และตอบคำถามในกิจกรรมที่ 5 ฉันตอบได้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร และนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ครูสรุปกิจกรรมจากการอ่านแบบฝึกอ่าน
1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกจำนวน 6 แผน ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องจากนั้นปรับปรุงตามข้อแนะนำ
1.6 นำแผนจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้แก่จำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการวัดผลประเมินผล ตรวจสอบความถูกต้องและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ ( Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์
จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร
IOC = (∑▒R)/N
IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์
R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน
∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00
1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดย ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการสอนเพิ่มเติม
1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย
2. แบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มีรายละเอียดการสร้างและการหา ประสิทธิภาพของเครื่องมือซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยยึดลำดับขั้นตอนการสอน ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ซึ่งบทอ่านมีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ เรียงลำดับแบบฝึกจากง่ายไปหายากมีภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียนทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สื่อประเภท นิทานอีสป ซึ่งแบบฝึกผู้วิจัยได้จัดสร้างขึ้นด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มีนิทานทั้งหมด 6 เรื่อง ดังนี้
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม
แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์
2.1 ศึกษาหลักสูตร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบฝึก
2.2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความจากงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ
2.3 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.4 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL
2.5 ศึกษาความสนใจในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยสัมภาษณ์จากครูผู้สอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านดงซ่อม ในระดับชั้นประถมศึกษา และสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับความสนใจในการอ่านของนักเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกเนื้อหาจากความสนใจในการอ่านของนักเรียน ประกอบด้วย นิทานอีสป โดยได้กำหนดเกณฑ์ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สรุปว่าควรเลือกเรื่องที่มีลักษณะดังนี้
2.5.1 ภาษาที่ใช้มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน
2.5.2 เนื้อเรื่องแต่ละประเภทมีความยาวพอเหมาะกับช่วงความสนใจของนักเรียน
2.5.3 เนื้อเรื่องที่นำมาให้อ่านเป็นเนื้อเรื่องที่นักเรียนไม่เคยอ่านหรือไม่เคยทำแบบฝึกหัดมาก่อน
2.6 สร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์ จะมีกิจกรรมตามขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL
2.7 เสนอแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องจากนั้นปรับปรุง แก้ไขแบบฝึกการอ่านจับใจความตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
2.8 นำแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง แล้วไปให้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) แล้วหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ ( Index of Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์
จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร
IOC = (∑▒R)/N
IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์
R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน
∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00
2.9 นำแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจเรียบร้อยแล้วมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำต่างเกี่ยวกับภาพประกอบในการสื่อความ ๆ โดยปรับเปลี่ยน ให้สื่อความหมายได้ดีดึงดูดความสนใจโดยเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีการเรียงลำดับเนื้อหาของแบบฝึกการอ่านจับใจความ จากนิทานทั้ง 6 เรื่อง จากง่ายไปยาก แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์ โดยแบบฝึกแต่ละชุดมีขั้นตอนที่ไม่สับสนง่ายต่อการเข้าใจ ข้อความอธิบายชี้แจงในแต่ละกิจกรรมของแบบฝึก มีการปรับเปลี่ยนให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้สามารถสื่อความได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
3. แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกทั้งหมด 10 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.1 ศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิเคราะห์
เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
3.3 สร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยศึกษาจากเนื้อหาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้และครอบคลุมเนื้อหาในแบบฝึกและแผนการเรียนรู้
3.4 วิเคราะห์ข้อสอบ ข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้และครอบคลุมเนื้อหาในแบบฝึกและแผนการเรียนรู้
3.5 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ ที่เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 1 ฉบับรวม 15 ข้อ จากนั้นคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพ 10 ข้อ มาใช้ในการวิจัย
3.6 เสนอแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความต่อผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อตรวจสอบการใช้ภาษาความถูกต้อของข้อคำถาม จากนั้นปรับปรุงและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญวิทยานิพนธ์
3.7 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดผล และประเมินผล ตรวจสอบการใช้ภาษา ความถูกต้องของข้อคำถาม แล้วหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างจุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ (Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 186) โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์
จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร
IOC = (∑▒R)/N
IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์
R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน
∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00
3.8 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไป ทดลองใช้(Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบ้านดงซ่อม อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนที่เคยเรียนเรื่องการอ่านจับใจความมาแล้ว 15 คน
3.9 นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาประสิทธิภาพรายข้อ โดยหาค่า ความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r ) คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.25-0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0. 67 โดยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก
ตามเกณฑ์มาใช้จำนวน 10 ข้อ
3.10 วิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) ตามสูตร KR-20 ของคูเดอร์ และริชาร์ดสัน
(Kuder and Richardson) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความเท่ากับ 0.78
3.11 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่สมบูรณ์แล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ทดสอบก่อนการทดลอง และทดสอบหลังการทดลอง
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการที่เรียนรู้ด้วยด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกมีขั้นตอน ดังนี้
4.1 ศึกษาการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นจากเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบรูปแบบโครงสร้างและหลักการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น
4.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 3 ที่ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scale) 3 ระดับ คือ 3 หมายถึง มาก 2 หมายถึง ปานกลาง 1 หมายถึง น้อย จำนวน 8 ข้อ
ใช้สำหรับสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนรายบุคคล ซึ่งคำถามที่ใช้มีการกำหนดค่าความคิดเห็น 3 ระดับ ดังนี้ เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลางและเห็นด้วยน้อย รายละเอียดดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 เกณฑ์การกำหนดค่าความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น ค่าคะแนนเชิงนิมาน
มาก 3
ปานกลาง 2
น้อย 1
สำหรับการให้ความหมายของค่าเฉลี่ยคิดเห็นที่วัดได้ ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 เกณฑ์การแปลความหมายของค่าระดับความคิดเห็น
ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นเชิงนิมาน
2.50 3.00 มาก
1.50 2.49 ปานกลาง
1.00 1.49 น้อย
4.3 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและครอบคลุมของด้านคำถามจากนั้นปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามความคิดเห็นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
4.4 นำแบบสอบถามความคิดเห็นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการสอน และด้านการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ในการถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 197) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนนเท่ากับ 1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์
จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร
IOC = (∑▒R)/N
IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์
R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน
∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00
4.5 นำแบบสอบถามความคิดเห็นไปใช้สอบถามความคิเห็นของนักเรียนหลังจาก
จัดกิจกรรมการเรียนรู้การสอนอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบฝึกครบทั้ง 5 แผนการจัดการเรียนรู้
การดำเนินการทดลอง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีขั้นตอนในการดำเนินการทดลองดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความและ การเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่
1.1 ชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้
1.2 ชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้และการบันทึกข้อมูลแบบฝึก KWDL
2. การจัดกิจกรรมฝึกความสามารถด้านการอ่านตอนมีขั้นตอน ดังนี้
2.1 นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที
2.2 ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้
2.2.1 กิจกรรมที่ 1 ขั้น K (What we know) คือ ครูสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่นักเรียนเคยรู้จัก ครูให้นักเรียน อ่านชื่อเรื่อง นิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น และตอบคำถาม กิจกรรมที่ 1 ฉันรู้
2.2.2 กิจกรรมที่ 2 ขั้น W (What we want toknow) คือ 1. อธิบายเรื่องการตั้งคำถาม การตอบคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้เกี่ยวกับ นิทานเรื่อง.......... ในกิจกรรมที่ 2 ฉันอยากรู้ โดยครูคอยช่วยเหลือแนะนำ และตั้งคำถามเพิ่มเติมร่วมกับนักเรียน เช่น ในเรื่องนี้มีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์สำคัญของเรื่องนี้มีอะไรบ้าง เหตุการณ์ตอนจบของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้คืออะไร ถ้านักเรียนเป็น.........นักเรียนควรทำอย่างไร
2.2.3 กิจกรรมที่ 3 ขั้น D (What we do to find out) คือ ครูให้นักเรียนอ่านแบบฝึกอ่าน จับเวลาในการอ่าน 15 นาที ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์ พร้อมความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ในกิจกรรมที่ 3 คำศัพท์แสนกล โดยครูชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือในการเปิดหาความหมาย
2.2.4 กิจกรรมที่ 4 ขั้น L (what we have Learned) คือ กระตุ้นให้นักเรียนบอกสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่านนิทานลงในแบบฝึก กิจกรรมที่ 4 ฉันเข้าใจ ให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนรู้แล้ว กับสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ที่ตั้งคำถามไว้ในขั้น W (What we want to know) ว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อหรือใม่ โดยครูยกตัวอย่างการตั้งคำถามก่อนอ่าน แบบฝึกอ่าน และหลังจากการอ่านแบบฝึกอ่านแล้วครูสามารถตอบคำถามของตนเองได้ ครูกระตุ้นให้นักเรียนจัดลำดับเนื้อหาที่ได้อ่านจากนิทาน และตอบคำถามในกิจกรรมที่ 5 ฉันตอบได้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร และนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ครูสรุปกิจกรรมจากการอ่านแบบฝึกอ่าน
3. การวัดและประเมินผล โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ตรวจผลงานและให้ข้อมูลย้อนกลับครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผล
4. แบบฝึกอ่านจับใจความด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL หมายถึงสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามแนวคิดด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดงซ่อม ประกอบด้วยนิทาน 6 เรื่อง มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากดังนี้
4.1 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
4.2 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
4.3 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
4.4 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
4.5 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
4.6 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์
- กิจกรรมฉันรู้ (K)
- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)
- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)
- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)
3. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ
4. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) นำแบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน นำมาทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 คน ใช้เวลา 15 นาที และให้นักเรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็น
5. รวบรวมคะแนนจากการทดสอบที่ได้ไปหาค่าทางสถิติโดยรวบรวมคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเปรียบเทียบกับหลังเรียนเพื่อหาค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นของคะแนน ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL
การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือสำหรับการวิจัยครั้งนี้มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หัวข้อ
การอ่านจับใจความที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence: IOC) ซึ่งถ้าค่า IOC มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้นใช้ได้
1.2 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความดำเนินการดังนี้
1.2.1 ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดความสามารถใน
การอ่านจับใจความ โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence:IOC) ซึ่งถ้าค่า IOC มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ .05 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นใช้ได้ตรวจสอบค่าความยากง่าย (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ
1.2.2 ตรวจสอบค่าความยากง่าย (p) คือ สัดส่วนระหว่างจำนวนผู้ตอบข้อสอบถูกในแต่ละข้อต่อจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด โดยใช้เกณฑ์ความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 (มาเรียม
นิลพันธุ์,2549: 188)
1.2.3 การตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก (r) คือ การตรวจสอบว่าข้อสอบ สามารถจำแนกนักเรียนเก่งและอ่อนได้ดีเพียงใด โดยใช้เกณฑ์ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปถือว่าข้อสอบสามารถจำแนกนักเรียนเก่งและอ่อนได้ดี (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 186)
1.2.4 การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ การตรวจสอบผลการวัดที่สม่ำเสมอและคงที่หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้วิธีการของเดอร์ริชาร์ดสันคู จากสูตร KR 20
(มาเรียม นิลพันธุ์,2549: 182) โดยใช้เกณฑ์ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .70 ขึ้นไป
1.3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามความคิดเห็นที่ได้โดยการตรวจสอบ ความเที่ยงตรงโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence: IOC)
1.4 การตรวจสอบสมมติฐาน
2. การวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านจับใจความจากแบบทดสอบวัดความสามารถในด้านการอ่านจับใจความใช้ค่าสถิติดังนี้
2.1 ค่าเฉลี่ย (X)
2.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
2.3 การเปรียบเทียบความสามารถในด้านการอ่านจับใจความ ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) (มาเรียม นิลพันธุ์,2549: 197)
2.4 การวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกโดยใช้ค่าร้อยละ
2.5 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นแบบตรวจสอบรายการ (Rating Scale)
3 ระดับใช้ค่าเฉลี่ย (X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการวิจัยแบบก่อนทดลอง (Per-Experimental Design)
แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน ( The One-group Pretest-posttest Design) มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดงซ่อม จำนวน 15 คน ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง จัดการเรียนรู้และเก็บข้อมูลด้วยตนเองจากนั้นนำมาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกใช้การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent samples t-test) และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้การวิเคราะห์ค่า
ร้อยละ ความคิดเห็น 3 ระดับ ใช้ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)