ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus)
เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายพงศธร สิ่งสำราญ
ตำแหน่ง ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทาง 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบ คู่มือการใช้ และเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21 - 0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 - 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.85 2.2) แบบทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 2.3) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนรู้ พบว่า ยังไม่มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์เป็นฐาน และไม่มีการต่อยอดสู่ชุมชนที่เป็นรูปธรรม ยังไม่มีรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนเหมาะสมกับบริบท และนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 4.2) ขั้นตั้งปัญหา 4.3) ขั้นแบ่งกลุ่มค้นคว้าและคิด 4.4) ขั้นให้คำแนะนำผ่าน PLC 4.5) ขั้นนำเสนอผลงาน 4.6) ขั้นนำความรู้สู่ชุมชน และ 5) การวัดและประเมินผล
3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏดังนี้
3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2) ผลการประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด