ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม
โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
โดยใช้การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model)
ผู้รายงาน กาลสิษฐ์ เพชรคง
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ในปีการศึกษา 2562 จำแนกตามลักษณะการประเมิน ดังนี้ 1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการของโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และคณะครู จำนวน 80 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2) การประเมินด้านผลผลิต ที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 80 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 109 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 117 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) การประเมินผลผลิตที่เกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 117 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านสภาวะแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านความคาดหวังของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความจำเป็นของโครงการ ด้านความเหมาะสมของโครงการ และด้านความต้องการของโครงการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากรในการดำเนินงานตามโครงการ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อประสิทธิภาพของโครงการ ด้านการกำหนดคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามโครงการ และด้านงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามประเด็นการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีการประสานความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา สร้างความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และการดำเนินกิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ มีความเหมาะสม ขณะที่ ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการ
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งด้านการประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และด้านการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)