บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดย การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80, 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ผ่านบทเรียนออนไลน์ โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี, 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) สำหรับสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และ 5) เพื่อประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของสำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา 2. สร้างและพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3. ทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ประชากรเป้าหมาย ระยะที่ 1 ได้แก่ ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 คน ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ที่เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 4 ห้องเรียน รวม 166 คน รวมทั้งหมด 172 คน ประชากรเป้าหมาย ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ที่เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลาก จากทั้งหมด 4 ห้อง จำนวน 166 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินประสิทธิภาพ ของบทเรียนออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินตามสภาพจริงและแบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test independent samples
ผลการวิจัย
1. ผลการประเมินบทเรียนออนไลน์ พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อบทเรียนออนไลน์โดย การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.40 S.D. = .66) พิจารณาคุณภาพรายด้าน 2 อันดับแรก ได้แก่ เนื้อหา (x ̅ =4.40 S.D. = .66) และสื่อและการนำเสนอ (x ̅ =4.13 S.D. = .46)
2. ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เท่ากับ 85.00/86.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน (26.07) ผ่านบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน (14.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.11 S.D. = .56) พิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจตามลำดับดังนี้ กิจกรรมการเรียนรู้ (x ̅ = 4.32 S.D. = .50) ด้านเนื้อหา (x ̅ = 4.25 S.D. = .55) ระบบการจัดการ (x ̅ = 3.94 S.D. = .62) และ การออกแบบ (x ̅ = 3.92 S.D. = .58)
5. ผลการประเมินตามสภาพจริงจากข้อมูลในเชิงประจักษ์ พบว่า ความสามารถของนักเรียน ในการแก้ปัญหาโดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยรวมทุกส่วน อยู่ในเกณฑ์มาก (x ̅ =4.27 S.D. = .64)