ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นายสุรินทร์ ชำนาญคง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่วิจัย : 2562
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4 )แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/82.89
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ Active กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.8290 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.90
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11