หัวข้อการศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับ
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิด
วิเคราะห์และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา กมลลักษณ์ บัวล้อม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน มีผู้เรียน 35 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Samples) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ความสามารถทางทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนภาษาไทย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระค่าดัชนีประสิทธิผล และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) สาเหตุของปัญหาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ประการแรก คือการจัดการเรียนการจัดกิจกรรม ขาดการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดในการใช้ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนภาษาไทย ขาดกลวิธีการสอนอ่าน คิดวิเคราะห์ และการสอนเขียนที่ทำให้นักเรียนสามารถอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทยที่สามารถแยกประเด็น ข้อเท็จจริงจากเรื่องราวที่ได้อ่าน รวมทั้งไม่มีการสอนกับแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ภายในห้องเรียนยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ประการที่สองด้านสื่อประกอบการสอนภาษาไทย พบว่า สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกับการสอนและการทำกิจกรรมนั้นไม่มีการใช้เทคโนโลยีร่วม ทำให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูไม่สามารถเชื่อมโยงกับสื่อการสอนที่ทันสมัย ได้ส่งผลทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประการสุดท้าย พบว่า นักเรียนอ่านคำไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ และสะท้อนความรู้ความคิด ความรู้สึกได้ และสามารถใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารแสดงถึงความเข้าใจในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้อ่าน หรือสิ่งที่ได้ดำเนินงานด้วยการนำเสนอออกมาในรูปแบบของการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความสนใจในการเรียนรู้ภาษาไทย ทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสอนวิชาภาษาไทย และจากการสัมภาษณ์ครูสอนวิชาภาษาไทย พบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในทักษะการคิด เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาภาษาไทยที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ และต้องการมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการสอนวิชาภาษาไทย โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.1 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนภาษาไทย มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นนำเสนอความรู้พื้นฐาน 2) ขั้นกระตุ้นความสนใจกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นร่วมมือกันวางแผน 4) ขั้นหาความรู้สู่การดำเนินงาน 5) ขั้นสรุปสิ่งเรียนรู้ประเมินผล และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้โครงงานภาษาไทย จำนวน 7 โครงงาน ได้แก่ 1) โครงงานคำภาษาไทยเกี่ยวกับ สัตว์ที่ฉันรู้จัก 2) โครงงานคำภาษาไทยเกี่ยวกับ ขนมไทยแสนหวาน 3) โครงงานคำภาษาไทยเกี่ยวกับ ผลไม้แสนอร่อย 4) โครงงานคำภาษาไทยเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านฉัน 5) คำภาษาไทยเกี่ยวกับอาหารที่ฉันชอบ 6) คำภาษาไทยเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบไป และ 7) คำภาษาไทยเกี่ยวกับผักที่ฉันรู้จัก
2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.57/87.78 ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.62/87.41 และผลการทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.81/86.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.90/85.62 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7100 ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.71 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.00
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
4.1 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถทางการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย ก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 15.34 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 25.69 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด