ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวภาวิณี สกุณา
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียน จากนักเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 : 47) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพราะนักเรียนได้เล่นปนเรียน บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตนเอง และผู้สอนเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือผู้เรียน กิจกรรม การเรียนการสอนควรมีหลากหลาย มีสื่อที่น่าสนใจ รูปภาพสื่อความหมายได้ตรงกับเนื้อเรื่อง และมีสีสันสดใส เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เป็นการท้าทายความสามารถของนักเรียน
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า TPASOE Model มีองค์ประกอบ คือ รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความคิด (T : Thought provoking) 2) ขั้นนำเสนอปัญหา (P : Present situation) 3) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (A : Analyze the problem) 4) ขั้นแสวงหาทางแก้ปัญหา (S : Seek solutions) 5) ขั้นเสนอวิธีแก้ปัญหา (O : Offer solutions) และ 6) ขั้นประเมินผล (E : Evaluate) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้สอนเศรษฐศาสตร์ต้องการให้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำใบงาน บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ พร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 73.33/72.50 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.37/79.72 และค่าประสิทธิภาพ E1/E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 83.11/80.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.29/84.57 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด