รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ปีการศึกษา 2562
ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหาการส่งงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชื่อผู้วิจัย นายปราบ เนื้อแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 รหัสวิชา ง 23102 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากที่ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอน ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 ในหน่วยการเรียนรู้ที่มีภาระงานพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบไม่มีความกระตือรือร้นในการส่งงานที่มอบหมายทำให้ส่งงานล่าช้ามาก จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้ใช้วิธีการแจ้งผู้ปกครองร่วมแก้ปัญหา
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนส่งงานตรงเวลา
2. เพื่อให้นักเรียนกระตือรือร้นในการส่งงาน
3. ปลูกฝังความรับผิดชอบ
4. แก้ปัญหานักเรียนติด 0,ร
5. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
3. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 3
2. กลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปรต้น ได้แก่ ภาระงานที่กำหนดให้
ตัวแปรตาม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 0
4. ทฤษฎี/หลักการ/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิดและทฤษฎีดังนี้
1.จูงใจในการทำงาน
2.ทฤษฎีความต้องการ
3.ทฤษฎีกระบวนการจูงใจ
4.ทฤษฎีการเสริมแรง
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา ได้แก่ วิธีการ โดยครูเป็นผู้กำกับ ติดตาม ดูแลด้วยตัวเอง
เครื่องมือ
-เบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้น ม.3
-แบบบันทึกคะแนน
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่อง การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ แล้วพบว่านักเรียนชั้นมัธยมการศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน ไม่ส่งภาระงานที่มอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 0 ครูผู้สอนจึงได้ดำเนินการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
6.1ดำเนินจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่อง การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
6.2 ครูกำหนดภาระงาน มอบหมาย กำหนดวัน เวลาที่ต้องปฏิบัติ
6.3 ครูกำกับ ติดตาม ดูแลการปฏิบัติงานของนักเรียน
6.4 ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ประเมิน และชมเชยผลงานนั้นๆ
6.5 วิเคราะห์ข้อมูล แปลผลและเขียนรายงานวิจัยต่อไป
7. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยใช้ค่าสถิติเป็นจำนวนนับจากคะแนนเต็ม10จากเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
8 คะแนนขึ้นไป (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ระดับดี
5-7 คะแนน (ร้อยละ 50-79) ระดับปานกลาง
0-4 คะแนน (ร้อยละ 0-49) ระดับปรับปรุง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และหลังจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน
8. ผลการวิจัย
การแก้ปัญหานักเรียนไม่ปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนดทำให้ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน 0 ปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คนนั้น มีความรับผิดชอบมีความกระตือรือร้น ปฏิบัติงานตามที่ครูกำหนด โดยมีครูกำกับ ติดตาม ดูแลผลการปฏิบัติงานของนักเรียน โดยตลอด ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ80 ขึ้นไปหรือคะแนนเต็ม 10 คะแนนได้ไม่ต่ำว่า 8 คะแนน) ตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
9. อภิปรายผลการวิจัย
ผลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหานักเรียนดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
1.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้าและ
ร่วมมือกันเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการใช้สอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า
และการร่วมมือกันเรียนรู้ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
10. ข้อเสนอแนะ
ให้นักเรียนทำงานด้วยความสนุกสนาน เต็มใจ รับผิดชอบ เช่นการเลือกกลุ่มทำงาน ครูคอยให้คำแนะนำ ส่งเสริมเป็นกำลังใจ เป็นแรงผลักดัน ช่วยแก้ไขปัญหาให้นักเรียนพัฒนางานสำเร็จ