ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต2
ผู้รายงาน นางสาวกาญจนศิริ พวงแตง
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ 5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูจำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 120 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และบุคลากรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจตามตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ส 3.1 จำนวน 4 ฉบับ แบบบันทึกผลการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความต้องการจำเป็น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ในภาพรวมและรายด้าน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความพร้อมบุคลากร ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้าน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการกำกับติดตามโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานโครงการ ด้านการวางแผนโครงการ และด้านการประเมินผลโครงการ ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต2 โดยภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
4.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 บ้านโป่งเกตุ ผ่านการประเมินตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ร้อยละ 100
4.2 การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการนำไปปฏิบัติของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินของคณะกรรมประเมินสถานศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามลำดับ
4.4 ผลสรุปคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ด้านอยู่อย่างพอเพียง จากนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 จำนวน 120 คน มีระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านอยู่อย่างพอเพียงในระดับดีเยี่ยม จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 79.17 และอยู่ในระดับดี จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 20.83
5. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 คณะบุคคลเครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายและภารกิจเครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่ 3 แนวทางจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารของเครือข่ายความร่วมมือ