ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน ณิชาวีร์ สว่างพนาพันธุ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการประเมินในปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เดือนกันยายน 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ที่ประกอบด้วย การประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) แบ่งเป็น การประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากรในโรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) ปีการศึกษา 2562 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 9 คน (ไม่รวมครูผู้รับผิดชอบโครงการ) และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบท (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) : ผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) : ผลกระทบ (Impact Evaluation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, = 0.51) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72, = 0.49) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ( = 4.68, = 0.51) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ( = 4.60, = 0.51) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ( = 4.49, = 0.52) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ( = 4.72, = 0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านความคาดหวังผลของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79, = 0.48) รองลงมา คือ ด้านความจำเป็นของโครงการ ( = 4.74, = 0.49) ด้านความต้องการของโครงการ ( = 4.72, = 0.47) และด้านความเหมาะสมของโครงการ ( = 4.68, = 0.51)ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, = 0.51) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.74, = 0.54) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( = 4.73, = 0.50) ด้านการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ( = 4.67, = 0.51) ด้านงบประมาณ ( = 4.54, = 0.51) และด้านการกำหนดคุณธรรมของนักเรียน ( = 4.61, = 0.51)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, = 0.51) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านมีการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.81, = 0.49) รองลงมา คือ ด้านมีการประชุมวางแผนการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.78, = 0.50) ขณะที่ ด้านมีการประชุมหาแนวทาง แก้ไขปัญหา อุปสรรค เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.42, = 0.59)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก ( = 4.49, = 0.52) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งด้านการประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) ( = 4.56, = 0.52) และด้านการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ( = 4.43, = 0.53)