สภาพและความเป็นมาของปัญหา
จากการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จึงส่งผลให้นักเรียนอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เนื้อหาสาระจากการอ่าน ซึ่งในการอ่านจับใจความสำคัญนั้น นอกจากจะอ่านจับใจความเนื้อความที่เป็นร้อยแก้วแล้ว การอ่านจับใจความเนื้อความที่เป็นร้อยกรองก็สำคัญ เนื่องจาก บทร้อยกรองเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ระบบการศึกษาไทยได้ปลูกฝังให้แก่เยาวชน จึงมีการศึกษาเรื่องการแต่งและการอ่านคำประพันธ์ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๒๑ นอกจากนั้นลักษณะของภาษาไทยนั้นส่วนมากจะเป็นร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว เพราะคนไทยตั้งแต่ในอดีตแล้วจะมีลักษณะนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจะพูดอะไรก็มักจะมีสัมผัสสำนวนอยู่เสมอ
ในการจัดการเรียนการสอนการแต่งคำประพันธ์นั้น หากนักเรียนสามารถแต่งคำประพันธ์ที่
ไพเราะ แต่นักเรียนไม่สามารถที่จะอ่านหรือเข้าใจในคำประพันธ์นั้นๆ ก็หามีประโยชน์ไม่ ดังนั้นใน
การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องให้นักเรียนอ่านจับใจความเนื้อเรื่องที่เป็นคำประพันธ์ด้วยเพราะหากนักเรียนได้ฝึกหัดบ่อยครั้ง ก็จะคุ้นเคยและสามารถที่จะทำได้ดียิ่งขึ้น
ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยเกิดความคิดที่จะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์
ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จึงจัดทำแบบฝึกขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวในการจัดทำเครื่องมือเพื่อพัฒนาทักษะในการอ่านจับใจคำประพันธ์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ให้ดีขึ้น และหวังว่าการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทยนี้จะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทยสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนปรางค์กู่
๒. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทย สำหรับนักเรียน
ช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ก่อนใช้แบบฝึกและหลังใช้แบบฝึก
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
๑. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนปรางค์กู่
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑ ห้องเรียน จำนวน ๘ คน
๒. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนปรางค์กู่
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑๐๕ คน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
๑. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์
ไทยจำนวน ๖ ชุด
๒. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน
ตัวแปรที่จะศึกษา
ตัวอิสระ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทยจำนวน ๖ ชุด
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทย
ขอบเขตด้านระยะเวลา
๑. ระยะเวลาในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ คือในชั่วโมงเรียนภาษาไทยในภาค
เรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๓ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๒ คาบ รวม ๖ คาบ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย มีดังต่อไปนี้
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทย จำนวน ๖ ชุด ซึ่งมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
แบบฝึกชุดที่ ๑ เรื่อง การถอดความคำประพันธ์ไทยที่ละวรรคแล้วสรุปความ
แบบฝึกชุดที่ ๒ เรื่อง การจับใจความที่เป็นปริศนาแล้วหาคำตอบจากรูปภาพ
แบบฝึกชุดที่ ๓ เรื่อง การหาคำศัพท์ที่เป็นอักษรโยงแล้วสรุปใจความสำคัญ
แบบฝึกชุดที่ ๔ เรื่อง การหาคำศัพท์ที่เป็นอักษรไขว้แล้วสรุปใจความสำคัญ
แบบฝึกชุดที่ ๕ เรื่อง การจับใจความที่เป็นปริศนาเกมผะหมีแล้วหาคำตอบ
แบบฝึกชุดที่ ๖ เรื่อง การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำประพันธ์
๒. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านจับใจความคำประพันธ์ แบบ ๔ ตัวเลือก
จำนวน ๒๕ ข้อ
วิธีดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ( One Group Pretest posttest Sample ) ระยะเวลาในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ คือในชั่วโมงเรียนภาษาไทยในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๓ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๒ คาบ รวม ๖ คาบ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้พัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕ โรงเรียนปรางค์กู่
๒. ได้แบบฝึกหรือแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความคำประพันธ์ไทย
๓. ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความ
๔. เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยต่อไป
๕. เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาอื่นๆ ต่อไป