|
|
ชื่องานวิจัย การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนา
ชื่อผู้วิจัย ณกันยา ไวคำ
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนา ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือระยะที่ 1 วางแผน (Plan) ดำเนินการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการส่งเสริมความสามารถทางดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้วยการสอบถามสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวัง กลุ่มเป้าหมายการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 40 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ จำนวน 339 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลการสอบวัดผลทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ต่ำอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อคำถามอ้างอิงตัวชี้วัดการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE : International Society for Technology in Education) ระยะที่ 2 ปฏิบัติตามแผน (Action) โดยนำกระบวนการนิเทศแบบร่วมมือพัฒนา ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นวางแผน (Planning) และขั้นตอนที่ 2 คือ นำกิจกรรมเสริมสร้างความรู้มาใช้ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวน 14 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รายวิชาละ 1 คน รวม 42 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบก่อนและหลังการรับความรู้ ระยะที่ 3 สังเกตการณ์ (Observe) นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาในขั้นที่ 3 คือ ขั้นปฏิบัติการ (Implementing) มาใช้กับกลุ่มเป้าหมายดำเนินการในระดับสถานศึกษา ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ และครูกลุ่มเป้าหมาย รวมกลุ่มเป้าหมายในขั้นนี้ โรงเรียนละ 7-9 คน ร่วมกันดำเนินการในแต่ละโรงเรียนด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การประชุมก่อนการสังเกตชั้นเรียน (Pre- observation) กิจกรรมที่ 2 การสังเกตชั้นเรียน (Classroom Observation) c]tกิจกรรมที่ 3 การประชุมสะท้อนผลหลังการสังเกตชั้นเรียน (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสะท้อนผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4 สะท้อนการปฏิบัติ (Reflect) เป็นขั้นที่นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาในขั้นที่ 4 คือ ขั้นประเมินผล (Evaluating) มาดำเนินการ กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การสะท้อนการปฏิบัติในภาพรวม โดยกำหนดให้ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ส่งบุคลากรเข้าร่วมประชุมสะท้อนการปฏิบัติ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน (ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ) หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ครูผู้รับการนิเทศทุกคน และศึกษานิเทศก์ทุกคน (รวมผู้วิจัย) กิจกรรมที่ 2 การประเมินผล ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต 1 คน ศึกษานิเทศก์ระดับเชี่ยวชาญ 2 คน และผู้บริหารสถานศึกษาระดับเชี่ยวชาญ 2 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการระดมสมอง และแบบประเมินตนเองของครูกลุ่มเป้าหมายหลังได้รับการนิเทศ และประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการนิเทศแบบร่วมพัฒนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สรุปได้ว่าสภาพการปฏิบัติที่แสดงถึงพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.78) และมีความต้องการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลในภาพรวม ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.63)
2. การสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สังเคราะห์ขั้นตอนร่วมกับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ปฏิบัติการจำนวน 2 วงรอบ ผลที่เกิดขึ้นแต่ละวงรอบปรากฏดังนี้
วงรอบที่ 1 พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความรู้ความเข้าใจหลังรับการอบรมพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล และการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เห็นได้จาก คะแนนสอบหลังการอบรมที่สูงขึ้น เมื่อนำกลับไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนครูผู้สอนส่วนใหญ่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ยังกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และเลือกวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การวัดผลไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้นิเทศได้ให้คำชี้แนะ และให้ครูนำไปปรับก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ ผลการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของทีมผู้นิเทศ ครั้งที่ 1 พบว่า พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูที่แสดงออกว่าเป็นนักออกแบบ และเป็นผู้อำนวยความสะดวก อยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่ครูยังไม่คุ้นชินกับการเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่ยังเป็นผู้บอกความรู้ และไม่อดทนรอคอยคำตอบของผู้เรียน และส่วนใหญ่ครูยังไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชั่น ต่าง ๆ ที่ได้จากการอบรมอย่างคล่องแคล่ว และมีสภาพปัญหาความไม่สะดวกของระบบอินเทอร์เน็ตของสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นทีมผู้นิเทศได้รับทราบสภาพปัญหาและจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป
วงรอบที่ 2 หลังจากทีมศึกษานิเทศก์จัดประชุมปฏิบัติการผ่าน Zoom Application เพื่อฝึกใช้เครื่องมือดิจิทัลและเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม และ ระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนได้รับการแก้ไข ครูผู้สอนได้นำความรู้และประสบการณ์กลับไปจัดการเรียนรู้ และผลจากการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ในครั้งที่ 2 พบว่า พฤติกรรมทั้ง 7 ด้านของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนมีความโดดเด่นชัดเจน ผลการระดมสมองของผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปว่าการใช้กระบวน การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาครูผู้สอนร่วมกับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา สามารถช่วยให้พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนมีพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น มีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนไปในทางที่เป็นที่น่าพอใจ ผลการประเมินตนเองของครูผู้สอนด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับสูงมาก (X ̅ = 4.53) และความพึงพอใจของครูกลุ่มเป้าหมายต่อกิจกรรมการนิเทศแบบร่วมพัฒนาอยู่ในระดับสูงมาก (X ̅ = 4.68)
|
โพสต์โดย ณยา : [24 ก.พ. 2564 เวลา 03:06 น.] อ่าน [4988] ไอพี : 1.4.141.87
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 88,973 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,769 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,779 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,819 ครั้ง
| เปิดอ่าน 43,874 ครั้ง
| เปิดอ่าน 23,794 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,767 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,262 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,801 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,455 ครั้ง
| เปิดอ่าน 134,209 ครั้ง
| เปิดอ่าน 24,549 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,325 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,025 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,450 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 75,378 ครั้ง
| เปิดอ่าน 22,315 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,082 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,932 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,343 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|