ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste school ของ
โรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) สังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นายเจนวิทย์ เจนนาวิน
โรงเรียน เทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) เทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste school ของโรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) สังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนําเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต และ 5) ด้านผลกระทบ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านบริบท ประกอบด้วย ผู้อํานวยการ โรงเรียน จำนวน 1 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต คือ ครูโรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลด้านผลผลิต การปฏิบัติในการจัดการขยะและด้านผลกระทบ จิตสํานึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากประชากรทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูลความ พึงพอใจในการดำเนินโครงการ คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์กู่วิทยาคาร) จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่น .92 ด้านปัจจัยนําเข้า มีค่าความเชื่อมั่น .90 ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่น .93 ด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่น .95 ด้านผลกระทบ มีค่าความเชื่อมั่น .83 แบบประเมินการปฏิบัติมีค่าความเชื่อมั่น .86 และแบบประเมินตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านบริบท มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมาก วัตถุประสงค์ของการจัดทำ โครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาด้านขยะของโรงเรียน โครงการโรงเรียนปลอดขยะมีความสอดคล้องกับแนวทางการดําเนินงานโรงเรียนมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา และมีความสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยนําเข้า บุคลากร วัสดุอุปกรณ์งบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมโรงเรียนสะอาดน่าอยู่น่ามอง Big Cleaning 2) กิจกรรมการคัดแยกขยะสู่ความพอเพียง 3) กิจกรรมน้ำหมักรักษ์โลก และ 4) กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล ทุกกิจกรรมมีคุณภาพการดําเนินงานอยู่ ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต นักเรียนมีการปฏิบัติในการจัดการขยะของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของครูที่มีต่อผลสําเร็จของการดําเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก
5. ด้านผลกระทบ จิตสํานึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในการดําเนินโครงการของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก
คําสําคัญ : การประเมินโครงการ, โรงเรียนปลอดขยะ, รูปแบบการประเมิน CIPPI