การประเมินโครงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ของโรงเรียนเทศบาลบ้านกล้วย
ชื่อผู้ประเมิน : พัฒน์พงษ์ แสงสุพรรณ์
ปีที่ศึกษา : 2562
การประเมินผลและถอดบทเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ของโรงเรียนเทศบาลบ้านกล้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ 3) เพื่อถอดบทเรียนโครงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ครู 63 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน ผู้ปกครอง 291 คน และนักเรียน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
ผลการประเมิน พบว่า 1) ด้านบริบทของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นระดับมาก 4) ด้านผลผลิต (1) ผลการประเมินด้านผลผลิต ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความคิดเห็นระดับมาก (2) ด้านผลผลิตการประเมินการปฏิบัติในการทำกิจกรรมในโครงการ มีความคิดเห็นระดับมาก (3) การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นระดับมาก (4) การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ สอบถามผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมาก (5) การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ สอบถามนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ (1) ด้านผลกระทบของโครงการ สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นระดับมาก (2) ด้านผลกระทบของโครงการ สอบถามผู้ปกครอง มีความคิดเห็นระดับมาก 6) ด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 7) ด้านความยั่งยืนของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8) ด้านถ่ายโยงความรู้ของการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
แนวทางการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ สรุปได้ว่า ควรเร่งดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสาธารณสุข ให้เกิดในโรงเรียนและชุมชน เร่งประสานงานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และการจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างเพียงพอ การขาดงบประมาณทำให้ไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ทางด้านการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อได้ อีกทั้ง ยังต้องรอการสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้กับบุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และสามารถนำความรู้ไปขยายผลให้กับชุมชน
การถอดบทเรียน สรุปว่า ควรมุ่งที่การดูแลสุขภาพนักเรียนให้มีความสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ ประกอบไปด้วย การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค การตรวจคัดกรองเป็นการซักถามหรือตรวจเบื้องต้น เพื่อค้นหาความเสี่ยง ค้นหาโรคในนักเรียน ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค โรงเรียนควรสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและภายในชุมชนของตนเอง ประชาชนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อสุขภาพ การปฏิบัติการตามแผนที่วางไว ร่วมวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานพรอมทั้งหาทางแกไข ทำให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทุกคนควรหาวิธีการป้องกันกับสถานการณ์โรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้และควรนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน